24 ก.พ.68 บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่นชั้นนำและผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น Whoscall เปิดรายงานประจำปี 2567 พิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพในประเทศไทยตลอดปีที่ผ่านมา ผ่านการรายงานมิจฉาชีพจากสายโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงค์ต่างๆและฟีเจอร์ตรวจสอบข้อมูลรั่วไหล พร้อมสำรวจคนลวงมิจฉาชีพที่ใช้หลอกลวงประชาชน เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงไทยคนโกงและลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและรูปแบบต่างๆ
ด้านนายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า “ นับตั้งแต่ที่บริษัทเริ่มเผยแพร่รายงานประจำปีตั้งแต่ 2563 เราได้ติดตามสถานการณ์หลอกลวงของวิชาชีพที่มีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกๆ ตลาดหลัก Whoscall ให้บริการอย่างใกล้ชิด สำหรับประเทศไทยในปี 2517 เราสามารถระบุสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงได้สูงสุดในรอบห้าปี ถึง 168 ล้านครั้ง
เพราะปัจจุบันวิชาชีพได้นำเทคโนโลยี ai มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้คนโกงมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มการหลอกลวงที่ต้องจับตามองได้แก่ การแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน การฉ้อโกงทางการเงินในหลายรูปแบบ ทางผ่านการโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงก์อันตราย รวมถึงการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล”
โดยในปีที่ผ่านมาบริการสมาร์ท Smart SMS Assistant หรือ ผู้ช่วย SMS ที่เข้าข่ายการหลอกลวงมากถึง 130,000,000 ครั้ง ซึ่งตัวบ่งชี้สำคัญว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง
ข้อความ SMS หลอกลวงที่แนบลิ้งค์ฟิชชิ่ง เช่น ข้อความ SMS ที่หลอกให้กู้เงินและโฆษณาการพนันยังคงพบมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มวิชาชีพยังเป็นกลยุทธ์มาแอบอ้างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น เช่น แอบอ้างเป็นบริการจัดส่งสินค้าสินค้ารวมไปถึงการปลอมเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อส่งข้อความชวนเชื่อที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวกับการลดค่าไฟฟ้า คืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า มาตรการคนละครึ่งและดิจิทัลวอลเล็ต
อีกทั้ง Whoscall ยังพัฒนาฟีเจอร์อย่าง Web Checker ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบลิงค์ที่น่าสงสัยและอันตรายบนเว็บบ๊อกเซอร์ในระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ในปีที่ผ่านมาฟีเจอร์นี้ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากการคลิกลิงค์อันตรายแปลกปลอมหลากหลายประเภท โดยประเภทล้งอันตรายที่พบมากที่สุดเป็นลิงก์ฟิชชิ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดเงินหรือล้วงข้อมูลส่วนบุคคล 40% ส่วนอันตรายที่เหลือเป็นลิงก์ที่เชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย 30% และลิงก์อันตรายที่รอเหยื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่มีมาเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญจากอุปกรณ์อีก 30%
รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่าในหนึ่งวัน Whoscall สามารถช่วยปกป้องคนไทยจากมิจฉาชีพได้มากกว่า 460,000 ครั้ง ซึ่งทางผู้พัฒนาก็มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเอไอ มาพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้งานในการป้องกันภัยมิจฉาชีพ และเพื่อเป็นการรับมือกับการแพร่ระบาดของคนโกงออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบนอกจากนี้ประชาชนควรตื่นตัวและใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันตนเอง
“ด้วยสถานการณ์กลโกงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Whoscall ยืนหยัดที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเอไอ ที่มีประสิทธิภาพมายกระดับการป้องกันภัยจากการหลอกลวงเพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคมไทย เราพร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงดิจิทัล รวมถึงออกบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ai เพื่อปกป้องทั้งผู้ใช้และองค์กรในทุกช่องทาง”
สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถโหลดแอพพลิเคชั่น Whoscall ได้จาก Google Play Store ส่วน ผู้ใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ IOS สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store