หลายคนชอบท่านี้ ท่านอนเสียงชีวิต ยิ่งในผู้สูงอายุยิ่งอันตราย
หลายคนชอบท่านี้ ท่านอนเสียงชีวิต ยิ่งในผู้สูงอายุยิ่งอันตราย ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจได้ ผลสุดท้ายอาจเกิดเรื่องไม่คาดคิด
ช่วงเวลานอนคือช่วงเวลาที่หลายคนใช้ในการพักผ่อน ดังนั้นท่านอนจึงต้องสบายที่สุด แต่หารู้ไม่ว่า บางทีท่านอนที่ผิดแปลกไปก็ทำให้เสี่ยงชีวิตได้ เพราะถ้านอนใน 2 ท่านี้บ่อยๆ อาจทำให้หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
ท่านอนที่ควรเลี่ยง
- นอนด้วยหมอนที่สูงเกินไป
แม้มันจะสบาย แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าติดนิสัยนี้บ่อยๆ อาจส่งผลต่อกระดูกสันหลัง คอไม่ตรงกับแนวของร่างกาย ปวดศีรษะ และระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อีกทั้งการนอนด้วยหมอนที่สูงเกินไปจะทำให้มุมของกระดูกสันหลังส่วนคอและอกเปลี่ยนไป ทำให้หัวใจถูกกดดันและการไหลเวียนของเลือดไม่ดี จนหัวใจเต้นเร็วขึ้น
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการใจสั่น หายใจลำบากตอนกลางคืนและชอบนอนหมอนสูงเป็นประจำ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติสูงกว่าผู้ที่นอนท่าปกติ และในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
นอกจากนี้ การใช้หมอนที่สูงเกินไปยังทำให้การหายใจติดขัดมากขึ้น โดยเฉพาะกับคนที่มีอาการกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ การนอนในลักษณะยกศีรษะสูงเกินไปจะทำให้ทางเดินหายใจถูกจำกัด ส่งผลให้กรนหรือมีเสียงหวีดและอาจเกิดอาการหยุดหายใจช่วงสั้น ๆ ในระหว่างนอน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหัวใจในอนาคต
- นอนขดเหมือนกุ้ง
สารภาพมาดีๆ ว่านี่คือท่าโปรดของใครโดยเฉพาะในช่วงอากาศหนาว การนอนท่านี้อาจทำให้รู้สึกอุ่นขึ้น แต่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เพราะเมื่อร่างกายขดตัว หน้าอกและท้องจะถูกกดเข้าหากัน ทำให้พื้นที่ในหน้าอกลดลง หัวใจจึงมีพื้นที่ทำงานน้อยลง การไหลเวียนเลือดถูกจำกัด นำไปสู่การหายใจติดขัดและการขาดออกซิเจนไปยังหัวใจได้ง่าย
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง การนอนขดตัวจะทำให้ความดันแย่ลง อีกทั้ง การนอนขดตัวไม่เพียงแต่กดดันหัวใจ ยังส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังขาแย่ลง ทำให้เกิดอาการขาชาได้
ท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับหัวใจ
จากงานวิจัยเองก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ท่านอนใดที่เหมาะสมที่สุดหากไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ จะสามารถเลือกนอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา หรือนอนหงายได้ ตราบใดที่รู้สึกสบายและไม่รู้สึกหายใจติดขัดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่หากมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว แนะนำให้พิจารณานอนตะแคงขวาหรือนอนหงาย (ถ้าไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ)
และควรเลือกหมอนที่มีความสูงปานกลางให้ศีรษะ สันหลัง และหลังเรียงตัวในแนวตรง หากรู้สึกหายใจไม่สะดวกกับหมอนที่ต่ำเกินไป สามารถยกหมอนขึ้นเล็กน้อยได้ แต่ไม่ควรสูงเกินไป ส่วนข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ ในการนอนเพื่อปกป้องสุขภาพหัวใจ ไม่เพียงแต่ท่านอน แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจและสุขภาพโดยรวม ดังนี้
- สร้างสภาพแวดล้อมการนอนที่ดี เช่น อุณหภูมิที่เย็นสบาย ห้องโปร่ง และแสงสลัว
- งดใช้โทรศัพท์มือถืออย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอน
- ควรผ่อนคลายก่อนนอนและไม่คิดถึงเรื่องเครียด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนก่อนนอน
- งดการออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนนอน
- นอนหลับให้ได้ 7-9 ชั่วโมงทุกคืน
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป คุณควรนอนตะแคงหรือนอนหงายแล้วแต่ความสบายใจ การเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน นอกจากการนอนหลับที่ดีแล้ว การดูแลสุขภาพหัวใจยังต้องการการรับประทานอาหารที่ดีและการใช้ชีวิตอย่างรักษาสุขภาพ
ข้อมูลจาก Soha