อย่าคิดว่าไม่เป็นเรื่อง ลูกจ้าง ลาออกไม่บอกล่วงหน้า เสีย 1.3ล้าน ให้นายจ้าง

25 กุมภาพันธ์ 2568

อย่าคิดว่าไม่เป็นเรื่องใหญ่ ลูกจ้าง ลาออกไม่บอกล่วงหน้า เสีย 1.3ล้าน ให้นายจ้าง คดีตัวอย่างที่ไม่ควรมองข้ามเกี่ยวกับสัญญาตอนทำงาน

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวกฎหมายที่น่าสนใจเมื่อเพจเฟซบุ๊ก คลินิกกฎหมายแรงงาน ของทนายยิ่งพร อินทร์ศรีชื่น ได้โพสต์เล่าเรื่องราวของลูกจ้างที่ต้องเสียเงินก้อนให้นายจ้างถึง 1.3 ล้านเพียงเพราะลาออกไม่บอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน  โดยมีรายละเอียดของเรื่องราวว่า...  

 

อย่าคิดว่าไม่เป็นเรื่อง ลูกจ้าง ลาออกไม่บอกล่วงหน้า เสีย 1.3ล้าน ให้นายจ้าง

ใครที่ยังคิดว่า…
-ลาออกไม่ต้องบอกล่วงหน้าหรอก นายจ้างฟ้องไปก็ไม่ชนะ ไม่ต้องกลัว
-สัญญาจ้างไม่สามารถกำหนดให้บอกกล่าวก่อนออกได้เกิน 30 วัน ออกได้เลย
-นายจ้างพิสูจน์ความเสียหายได้ยาก
มาดูคำพิพากษานี้ให้เห็นกับตาค่ะ!!

ในคดีนี้ฝ้ายเป็นทนายของฝั่งนายจ้าง ซึ่งทำสัญญาไว้รัดกุม ในกรณีที่ลูกจ้างในตำแหน่งหนึ่ง (ซึ่งเป็นตำแหน่งสูง) จะลาออกต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน ซึ่งลูกจ้างก็ยังอยู่ในระบบท่องจำว่า ลาออกไม่ต้องบอกล่วงหน้าก็ได้ โดยไม่ได้เบิ่งตาดูมาตรา 17 ว่านายจ้างสามารถกำหนดได้ ก็ได้ทำการลาออกไปเลยเพราะคิดว่ากฎหมายแรงงานก็คุ้มครองลูกจ้างอยู่แล้ว ประกอบกับรับ Fake news เค้าไปเยอะ แต่สิทธิของลูกจ้างแต่ไม่ได้รับรู้ถึงหน้าที่เลย ก็ลาออกไปแล้วบอกว่าตัวเองไม่ได้ผิดอะไรเลยนายจ้างไม่มีความเสียหายสัญญาบังคับใช้ไม่ได้

แต่บังเอิญว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นิทานเลยไม่ต้องมีบทสรุปว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอะไร เลยขอให้ผลแห่งคดีสอนเค้าเอง ว่าคนที่รู้แต่สิทธิ์ของตัวเองโดยที่คิดว่าตัวเองไม่มีหน้าที่ต่อใครเลยอยากทำอะไรก็ได้จะต้องชดใช้ค่าเสียหายยังไง.. ส่วนสุดท้ายก็เป็นไปตามคำพิพากษาที่เอาลงไว้ให้ดู คือจบที่นายจ้างได้ไปเต็มๆ 1,300,000 บาท

(อันนี้มีทั้งค่าปรับและค่าเสียหายที่นำสืบได้นะ ไม่ใช่ค่าปรับล้วนล้วนค่าปรับล้วนล้วนไม่มีทางได้ขนาดนี้หรือถ้ามีก็มีโอกาสน้อยมาก)

ข้อคิดของฝั่งนายจ้างสำหรับใครที่เจอกรณีแบบนี้
1.ทำสัญญาให้รัดกุมและที่สำคัญต้องสอดคล้องกับหลักกฏหมาย ไม่ใช่สัญญาตามใจฉันเพราะฉันเป็นเจ้าของบริษัท สัญญาจ้างให้มันถูกได้แต่คุณก็ต้องรู้กฎหมายมากพอถ้าไม่รู้ก็จ้าง จะจ้างทนายคนไหนก็ได้ แต่ถ้าทนายคนนั้นเค้าอวยคุณไปซะหมดในทุกเรื่องที่คุณพูด ให้ตั้งข้อสงสัยและกลับไปดูข้อกฎหมายซิว่ามันเป็นอย่างที่เค้าอวยคุณจริงหรือเปล่า

2.ไม่ใช่แค่การมีสัญญาจ้างจะได้เป็น 1,000,000 เหมือนนายจ้างท่านนี้ทุกคน แต่เอกสารระหว่างทางที่บอกว่าเราเสียหายให้ปรึกษาทนายและทำเอกสารให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น

3.ใช้อำนาจแต่พอดีใช้บารมีแต่พองงามเหมือนกับนายจ้างท่านนี้ เราไปศาลโดยสุจริต + สัญญาดีเอกสารระหว่างทางดี โอกาสแพ้คดีแทบไม่ได้คิดเลย

ข้อคิดสำหรับลูกจ้าง
1.อ่านเยอะเยอะฟังเยอะๆ อย่าอ่านและจำเฉพาะเรื่องที่ตัวเองอยากจำให้อ่านข้อมูลความจริงเข้าไปบ้าง
2.แม้ว่าคุณจะมีสิทธิ์แต่คุณก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ไม่มีใครได้อะไรฟรีฟรีโดยไม่มีหน้าที่ต่อกัน
3.ถ้ามีความจำเป็นจะต้องออกก่อนครบกำหนดสัญญาก็ให้จากกันด้วยดีคุยกันดีดี อย่าเฟียสให้มาก
4.ลูกจ้างเงินเดือนไม่ได้สูงมากเป็นระดับปฏิบัติการก็อย่าคิดว่านายจ้างไม่ฟ้องอันนี้แนะนำด้วยความหวังดีนะคะนายจ้างหลายคนไม่ได้ใส่ใจในตัวเงินด้วยซ้ำแต่อยากให้ฟ้องเป็นคดีที่เป็นเคสหนี้ให้กับพนักงานคนอื่น ถ้าเกิดว่าเราบอกครบกำหนดได้ก็ควรบอก อย่าวันเดียวแล้วหายเพราะเมื่อไหร่ที่มันมีความเจ็บแค้นคดีมันก็เกิดขึ้นได้ง่ายง่ายเลย

ส่วนแฟนเพจฝั่งนายจ้างที่ inbox เข้ามาถามว่าทนายฝ้ายว่าความให้นายจ้างบ้างไหมแล้วชนะคดีบ้างไหม ก็เบิ่งเอาค่ะ ที่ผ่านมาไม่ได้อยากเอาลงเพราะคุณจะรู้สึกดีจริงๆหรอคะกับการที่เห็นบริษัทใดบริษัทนึงฟ้องลูกจ้างแล้วชนะโดยตลอดคุณจะรู้สึกอยากร่วมงานกับบริษัทนั้นไหม ??

นั่นเป็นเหตุผลที่ฝ้ายไม่ค่อยเอาคดีฝั่งนายจ้างมาลง
แม้ว่าจะทำบ่อยกว่าฝั่งลูกจ้างก็ตาม

ในส่วนของคดีฝ้ายก็รับทั้งลูกจ้างนายจ้างค่ะ ขอแค่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนคดีไหนที่นายจ้างปรึกษาหรือคอนเซ้าท์ฝ้ายแล้วถ้าลูกจ้างเค้ามาจ้างฝ้ายก็จะไม่รับ หรือในทางกลับกันคดีไหนที่ลูกจ้างเข้ามาคอนเซ้าท์แล้วนายจ้างมาจ้างฝ้ายก็ไม่รับเหมือนกัน

ศาลอื่นฝ้ายก็ไม่รู้หรอกว่าสามารถพูดได้อย่างสบายใจไหมว่าเป็นศาลที่อำนวยความยุติธรรมจริงๆ เพราะว่าไม่มีเวลาหาความรู้ข้อมูลในศาลอื่นๆสักเท่าไหร่ แต่กับศาลแรงงานและประเภทคดีที่ฝ้ายทำ ฝ้ายก็มองว่าศาลคุ้มครองผู้สุจริตและทำถูกต้องตามกระบวนการ เน้นว่าทำถูกต้องตามกระบวนการเพราะหลายคนที่สุจริตแต่ขั้นตอนไม่ถูก แพ้คดีมานักต่อนักละ และเช่นเคยใครที่หาที่ปรึกษากฎหมายทนายความสามารถติดต่อได้ทาง inbox เพจนะคะ ไม่ต้องโทรขอปรึกษาเบื้องต้น เพราะค่าไฟบ้านฝ้าย ขอจ่ายเบื้องต้นไม่ได้ค่ะ

 

อย่าคิดว่าไม่เป็นเรื่อง ลูกจ้าง ลาออกไม่บอกล่วงหน้า เสีย 1.3ล้าน ให้นายจ้าง

 

อย่าคิดว่าไม่เป็นเรื่อง ลูกจ้าง ลาออกไม่บอกล่วงหน้า เสีย 1.3ล้าน ให้นายจ้าง