ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยงริดสีดวง! หมอเจดเตือน ปัญหาขับถ่ายในผู้สูงวัยไม่ใช่เรื่องเล็ก พร้อมเผยวิธีปรับพฤติกรรมให้ขับถ่ายง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งยาระบาย
"หมอเจด" นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ข้อความล่าสุดระบุว่า
ท้องผูกในคนสูงวัย แก้ง่ายนิดเดียว หมอเจดเผยเอง ไม่ต้องพึ่งยา
ทุกคน เคยได้ยินผู้ใหญ่บ่นกันไหมว่า “เดี๋ยวนี้เข้าห้องน้ำนานขึ้น” หรือ “ต้องเบ่งหนักกว่าเดิม” ถ้าลองสังเกตดี ๆ คนสูงวัยรอบตัวเรามักมีปัญหาเรื่องท้องผูก ขับถ่ายยากขึ้นกว่าเดิม บางคนถึงขั้นต้องพึ่งยาระบายบ่อย ๆ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ นะ เพราะมันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มากับอายุ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันว่า ทำไมแก่แล้วขับถ่ายยากขึ้น? พร้อมวิธีแก้ที่ช่วยให้เข้าห้องน้ำได้สบายขึ้นนะ
1. กินน้อยลง ลำไส้ขี้เกียจไปด้วย
พออายุมากขึ้น หลายคนกินอาหารน้อยลง อาจเพราะเคี้ยวลำบาก ฟันไม่แข็งแรง หรือบางทีก็แค่รู้สึกไม่หิวเท่าเดิม
ปัญหาคือ… เวลากินน้อย ไฟเบอร์ก็น้อยตามไปด้วย ซึ่งไฟเบอร์คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น ถ้าไฟเบอร์น้อยไป อุจจาระจะแข็ง แห้ง ขยับตัวช้าลง แล้วแบบนี้จะไม่ท้องผูกได้ยังไง?
แก้ยังไงดี?
2. ดื่มน้ำน้อยไป อุจจาระเลยแข็ง
น้ำสำคัญกับร่างกายมาก โดยเฉพาะกับระบบขับถ่าย แต่ปัญหาคือ พออายุมากขึ้น ความรู้สึกหิวน้ำก็น้อยลง หรือบางคนกังวลเรื่องปัสสาวะบ่อย เลยดื่มน้ำน้อยลงอีก
พอดื่มน้ำไม่พอลำไส้ก็จะดูดน้ำกลับจากอุจจาระไปหมด สุดท้ายอุจจาระเลยแข็งและแห้ง ขับถ่ายก็ยากขึ้นอีก
แก้ยังไงดี?
3. ลำไส้เคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ของเสียค้างนาน
ลำไส้ของเรามีการบีบตัว (peristalsis) เพื่อนำของเสียออกจากร่างกาย แต่พอแก่ขึ้น ลำไส้ก็ขี้เกียจมันบีบตัวช้าลง ของเสียเลยค้างอยู่นานขึ้น แล้วก็กลายเป็นอุจจาระแข็ง ๆ ที่ขับถ่ายยาก
ยิ่งปล่อยไว้นาน อาจเสี่ยงเป็นริดสีดวงทวาร หรือมะเร็งลำไส้ได้เลยนะ
แก้ยังไงดี?
4. กล้ามเนื้ออ่อนแอลง ทำให้เบ่งลำบาก
ขับถ่ายไม่ได้อาศัยแค่ลำไส้อย่างเดียว แต่ต้องใช้ กล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานช่วยเบ่งด้วย
ปัญหาคือพออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อพวกนี้ก็อ่อนแรง ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นกว่าจะขับถ่ายออกมาได้ ถ้าเบ่งมากไป อาจเสี่ยงริดสีดวงทวาร หรือกระเพาะปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงได้อีก
แก้ยังไงดี?
5. ฮอร์โมนเปลี่ยนไป ส่งผลต่อลำไส้โดยตรง
พออายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนในร่างกายก็เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และในผู้ชายที่มีฮอร์โมนลดลง
นอกจากนี้ยาหลายชนิดที่ผู้สูงอายุใช้ เช่น ยาลดความดัน ยาแก้ซึมเศร้า หรือยารักษาพาร์กินสัน ก็อาจทำให้ท้องผูกได้
แก้ยังไงดี?
เพราะฉะนั้น สรุปแบบนี้นะครับว่า อายุที่มากขึ้นทำให้ขับถ่ายยากขึ้น แต่เราสามารถช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้นได้ง่าย ๆ แค่ทำตามที่บอกด้านบนนะ
ถ้าท้องผูกหนักจนรบกวนชีวิตประจำวัน อย่าปล่อยไว้นาน! ลองปรับพฤติกรรมก่อน หรือถ้าไม่ไหวจริง ๆ ปรึกษาหมอเพื่อหาทางแก้ไข ขับถ่ายดี สุขภาพดี ชีวิตก็ดี ใครมีคำถามคอมเมนต์ได้เลยนะครับ