“รู้ทันอาการหลังแผ่นดินไหว” พร้อมเตือน อาการเวียนหัว ควรรีบพบแพทย์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. ส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน ประชาชนบางส่วนรายงานว่าหลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว ยังมีอาการเวียนหัวคล้ายเมารถหรือเมาเรือ ทั้งที่แผ่นดินหยุดสั่นไหวแล้ว
รู้ทันอาการหลังแผ่นดินไหว พร้อมเตือนอาการเวียนหัว ควรรีบพบแพทย์
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อาการดังกล่าวเรียกว่า เป็น “อาการเมาแผ่นดินไหว” หรือ Post-Earthquake Dizziness Syndrome (PEDS) ซึ่งเกิดจากระบบประสาทพยายามปรับตัวหลังจากรับรู้การสั่นสะเทือนที่รุนแรง ผู้ที่มีความไวต่อการเคลื่อนไหว เช่น คนที่มักเมารถหรือเมาเรือ จะมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้มากขึ้น โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
แม้ว่าเหตุการณ์จะจบลงแล้ว ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที หรืออาจยาวนานหลายวัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
รู้ทันอาการหลังแผ่นดินไหว พร้อมเตือนอาการเวียนหัว ควรรีบพบแพทย์
“ขอแนะนำให้ประชาชนที่มีอาการเมาแผ่นดินไหว ดูแลตัวเองโดยการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการเดินหรือเคลื่อนไหวเร็ว หากรู้สึกเวียนหัวควรนั่งพักในที่ปลอดภัย ดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อช่วยให้ร่างกายปรับสมดุล นอกจากนี้ การหายใจลึกๆ หรือการทำสมาธิจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และควรลดการใช้หน้าจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์เพื่อลดการกระตุ้นอาการ
แต่หากอาการยังคงอยู่เป็นเวลานานเกินหนึ่งสัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรง เช่น
“รัฐบาลมีความห่วงใย ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของพี่น้องประชาชนทุกคน และขอให้ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับข้อมูลที่ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทันที ที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323“ นางสาวศศิกานต์ กล่าว
ที่มา : รัฐบาลไทย