ฮือฮา จีนเจอ "ไวรัสโคโรนา" สายพันธุ์ใหม่ ใน "ค้างคาว" มนุษย์เสี่ยงติดได้

22 กุมภาพันธ์ 2568

จีนค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในค้างคาว แพร่เชื้อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ เพราะใช้ตัวรับในมนุษย์เดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19

เรียกได้ว่าเป็นอีกข่าวที่น่ากังวลอย่างมาก เมื่อสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า คณะนักวิจัยจีน ภายใต้การนำของ “ชือ เจิ้งลี่” นักไวรัสวิทยาที่รู้จักกันในชื่อ “batwoman” ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ในห้องแล็บที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ได้ค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในค้างคาว โดยเชื่อว่าอยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัส “HKU5

ฮือฮา จีนเจอ \"ไวรัสโคโรนา\" สายพันธุ์ใหม่ ใน \"ค้างคาว\" มนุษย์เสี่ยงติดได้

HKU5 เป็นไวรัสจากสกุลย่อยของกลุ่ม merbecovirus และ กลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (Mers) ด้วย ซึ่งไวรัสชนิดใหม่ตรวจพบเจอครั้งแรกในค้างคาวบ้านญี่ปุ่น ในเขตฮ่องกง

ฮือฮา จีนเจอ \"ไวรัสโคโรนา\" สายพันธุ์ใหม่ ใน \"ค้างคาว\" มนุษย์เสี่ยงติดได้

 ทั้งนี้  แม้ยังไม่ทราบต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสในค้างคาวที่ชัดเจน แต่การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในค้างคาวจะสามารถแพร่ไปสู่คนได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่าเชื้อ “โฮสต์เริ่มต้น” ก่อนแพร่ระบาดในร่างกายมนุษย์

 

นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดใหม่ยังสามารถจับกับแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE2) ซึ่งเป็นตัวรับ (human receptor) แบบเดียวกับที่เชื้อ Sars-CoV-2 หรือ โควิด-19 ใช้เพื่อแพร่สู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ด้วย