ทนายเกิดผล ได้ออกมาโพสต์เตือนอุทาหรณ์ เรื่องจริง ไม่จำเป็น อย่าโอนลอย หรือ ใช้ชื่อเช่าซื้อแทนคนอื่น สุดท้ายเกือบโดนประหาร โดยได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ทนายเกิดผล แก้วเกิด ระข้อความดังนี้บุ
เรื่องจริง
ไม่จำเป็น..อย่าโอนลอย หรือ ใช้ชื่อเช่าซื้อแทนคนอื่น
โชคร้าย อาจถูกศาลพิพากษาประหารชีวิตได้
ที่พูดมาไม่ใช่เรื่องพูดเล่นนะครับ แต่ไม่ได้ถูกประหารเพราะโอนลอยรถยนต์ตรงๆหรอกครับ
แต่มันเกิดจากการที่มีผู้รับซื้อรถยนต์ นำไปขนยาเสพติด
ซึ่งผมเคยนำเล่าให้ฟังถึง 2 คดีแล้ว ถ้าจำได้
เกิดขึ้นมา ประมาณ 5 ปี เจ้าของรถขายโอนลอยพร้อมเอกสารสำคัญให้คนซื้อ
คนซื้อเป็นพ่อค้ายาเสพติด นำรถไปขนยาเสพติด และแหกด่านหนี
แต่ไปไม่รอด ก็จอดรถทิ้งไว้
ภายในรถ มีสมุดคู่มือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ของเจ้าของรถคนเดิม
ตำรวจก็ตามไปจับเจ้าของรถคนเดิม ตามที่ปรากฎในเอกสาร
เจ้าของรถให้การต่อสู้ว่า ตนโอนลอยรถยนต์ไป และต่อสู้ว่าขณะเกิดเหตุ ตนขายของอยู่หน้า 7 -11 ที่แม่สอด โดยนำคลิปจากกล้องวงจรปิดมาสืบ
ศาลชั้นต้นประหารชีวิต
ศาลอุธรณ์ ยกฟ้อง
ลูกความผมเป็นหนุ่มชาวดอย อยู่จังหวัดน่าน และตกเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้
เขายินยอมใช้ชื่อเเขา เช่าซื้อรถบิ๊กไบค์ให้ญาติ
ต่อมามีคนร้ายนำรถบิ๊คไบค์ไปตระเวนลาดเลาดูเส้นทางขนยาเสพติด จำนวน 660,000 เม็ด
ตำรวจที่แพร่จับกุมได้ และขยายผลไปถึงเจ้าของรถ จากทะเบียนรถ
เจ้าตัวต่อสู้ว่า ไม่ใช่ผู้ชับขี่ และไม่รู้เรื่อง เป็นแต่เพียงใช้ชื่อเช่าซื้อให้ญาติ และวันเกิดเหตุ #ตนแต่งงานอยู่ที่จังหวัดน่าน และนำรูปถ่าย ผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นพยาน ในศาลด้วย
ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
อัยการอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ประหารชีวิต
ซึ่งศาลอุทธรณ์ มองว่า ในวันที่ตำรวจติดตามจับกุมกลุ่มคนร้าย ตามเส้นทางขนยาเสพติด และหลบหนี
มีชาย 2 คน คนแรก คือจำเลยที่ 1 ขับรถบิ๊กไบค์ เข้ามาพักในโรงแรม โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้บัตรประชาชน ของตนเองเช็คอินในการเช่า ห้องพัก
ส่วนชายคนที่ 2 ยืนอยู่ห่างๆ ลักษณะเป็นชายสวมเสื้อสีดำ ทรงผมสั้น รูปร่างคล้ายจำเลยที่ 2 ในคดีนี้
( แต่ผมดูยังไงก็ไม่เหมือนครับ ยิ่งดูยิ่งไม่เหมือน )
เมื่อ ตำรวจชุดสืบสวนของจังหวัดแพร่ ตรวจสอบกล้องวงจรปิด ทราบชื่อของจำเลยที่ 1 ส่วนชายปริศนา ขณะนั้นจึงไม่ทราบชื่อ จึงได้ นำ ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไปตรวจสอบ
ปรากฏว่าเป็นชื่อของจำเลยที่ 2
พนักงานสอบสวนจึงขออนุมัติศาลแพ่งออกหมายจับจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่กับลูกเมียที่จังหวัดน่าน
ในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า ไม่ได้ ร่วมขบวนการ ขนยาเสพติด
ส่วนจำนวนที่ 2 ต่อสู้ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกระบวนการขนยาเสพติด ภายในวันเกิดเหตุ จำเลย จัดงานสมรสอยู่ที่ จังหวัดน่าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นสักขีพยาน และภาพถ่ายประกอบ
พนักงานอัยการ นำพยาน ปากสำคัญ ซึ่งเป็นพนักงานต้อนรับ ของโรงแรมที่เป็นคนลงทะเบียนให้กับจำเลยที่ 1 มาเบิกความต่อศาลว่า
เห็นจำเลยที่ 2 มากับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้มาเช็คอินในโรงแรม
ในตอนถามค้าน ทนายจำเลยที่ 2 ถามว่า
ขณะนั้น พยานกำลังยุ่งอยู่กับการต้อนรับ ลูกค้าที่โรงแรมใช่หรือไม่
พยานตอบว่าใช่
ทนายถามต่อว่า ตัวพยานเองไม่เคยเห็นจำเลยที่ 2 มาก่อน ไม่รู้จักกันมาก่อน ใช่หรือไม่
เรียนตอบว่าใช่
ทนายถามต่อว่า เมื่อพยาน ไม่เคยเห็นหน้า และไม่ได้พูดคุยกับจำเลยที่ 2 มาก่อน จึงไม่ได้สังเกตว่า จำเลย ที่ 2 หน้าตาเป็นอย่างไร ใช่หรือไม่
พยานตอบ ใช่
ทนายถามต่อไปว่า เหตุที่พยาน ชี้รูปภาพของจำเลยที่ 2 เพราะตำรวจ นำรูปตามทะเบียนราษฎร์ ที่มีชื่อจำเลยที่ 2 ให้พยานดูก่อน ใช่หรือไม่
พยาน ตอบใช่
ทนายถามต่อว่า หากไม่มีรูปภาพ และชื่อจำเลยที่ 2 ให้พยายามเห็นก่อน รูปนี้ที่พยานชี้ กับ รูปภาพในวีดีโอวงจรปิด พยายามจะดูไม่ออกว่าเป็นรูปของใครใช่หรือไม่
พยาน ตอบใช่
ตอบมา ศาลชั้นต้นพิพากษา จำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต และยกฟ้องจำเลยที่ 2
พนักงานอัยการโจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์เชื่อว่าจำเลยที่ 2 เป็นชายที่อยู่ในโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 1 เนื่องจาก ภาพถ่าย รูปบัตรประจำตัวประชาชน ที่ ตำรวจทำให้พนักงานโรงแรมชี้นั้น ตรงกับ รูปภาพของชายที่อยู่ในคลิปวีดีโอกล้องวงจรปิดของ โรงแรม
ซึ่งประเด็นนี้ผม ดูอย่างเป็นกลางนะครับ ภาพนั้น ไม่เหมือนเลยดูยังไงก็ไม่เหมือนยิ่งเฉพาะทรงผม แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
แต่ ศาลอุทธรณ์ มองว่า ทรงผมคล้ายกัน เพราะ ภาพที่ตำรวจนำมาให้พยานดูเป็นภาพถ่ายจากบัตรประชาชนซึ่งเป็นภาพเก่าทรงผมจำเลยที่ 2 อาจเปลี่ยนไปได้
และศาลอุทธรณ์ พิพากษาประหารชีวิตจำเลยที่ 2
จำเลยถูกย้ายมาบางขวาง
ผมเป็นทนาย ที่ 2 จึงได้ยื่นฎีกา โดยขออนุญาตฎีกา ซึ่งศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกาได้
จำเลยที่ 1 ก็ยื่นฎีกา กรณีของจำเลยที่ 1 มีประเด็น 2 ประเด็น คือ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิด และ 2 ฟ้องผู้โจทก์ไม่สมบูรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง
คดีนี้ ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ พิพากษาว่า
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องตามกฎหมาย
ศาลฎีกาจึงสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขภายในระยะเวลา เมื่อตรวจแก้ไขภายในเวลาที่ศาลกำหนดจึงถือว่าคำฟ้องนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนฎีกา ของจำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากพยานที่มาเบิกความ ได้ถูกชักจูงหรือชักนำจากตำรวจที่นำรูปของจำเลยที่ 2 มาให้พยานดูก่อนที่จะ ออกหมายจับ และพยานกับเบิกความโดยสารต่อทนายจำเลยที่ 2 ถามค้าน ยอมรับว่าไม่รู้จักและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เหตุที่ชี้รูปภาพคุณจำเบอร์ที่ 2 เพราะตำรวจนำรูปมาให้ดูก่อนจึงเข้าใจว่าเป็นภายในคลิปวีดีโอ
พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2566 (ประชุมใหญ่)
ปล.
หลังจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง จำเลย ที่ 2 ก็กลายเป็นคน ซึมเศร้า ต้องเข้าโรงพยาบาลรักษา อาการซึมเศร้า ซึ่ง เกิดจากการถูกจับ คุมขัง และ เมียทิ้งไปในระหว่างติดคุกอยู่
ผมเคยถามว่าจะฟ้องคดีตำรวจที่ยัดข้อหาไหม
ตอนแรกเขาบอกว่าเขาอยากจะฟ้อง ตอนหลังไม่รู้เครียดหรือกังวลใจเกินไป ไม่ค่อยพูดจา ผมก็เลยไม่ได้ถามต่อ ว่าจะเอายังไง