ครม. ไฟเขียวเงินกู้ 85,000 ล้านบาท บริหารภาระค่า Ft ตรึงค่าไฟฟ้าช่วยประชาชน

06 กันยายน 2565
52

ครม. เห็นชอบเงินกู้ กฟผ. วงเงินไม่เกิน 85,000 ล้านบาท เพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ตามนโยบายของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน

ครม. ไฟเขียวเงินกู้ 85,000 ล้านบาท บริหารภาระค่า Ft ตรึงค่าไฟฟ้าช่วยประชาชน ครม. เห็นชอบเงินกู้ กฟผ. วงเงินไม่เกิน 85,000 ล้านบาท เพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ตามนโยบายของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2566 ในการชะลอหรือตรึงค่า Ft เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน

ครม. ไฟเขียวเงินกู้ 85,000 ล้านบาท บริหารภาระค่า Ft ตรึงค่าไฟฟ้าช่วยประชาชน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนากยกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการกู้เงินวงเงินประมาณ 85,000 ล้านบาท เพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ประจำปีงบประมาณ 2566

ส่วนมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานแก่ประชาชนในด้านค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) กระทรวงพลังงานจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า โดยจะสามารถออกมาตรการช่วยเหลือได้ทันในรอบบิลเดือนนี้

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของภาระค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจะบูรณาการทำงานทั้งจากกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้า โดยจะเร่งรัดการส่งเสริม การติดตั้ง Solar Rooftop ให้เร็วขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสำหรับครัวเรือนที่มีศักยภาพในการติดตั้งได้

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่ ครม. อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงินจำนวนไม่เกิน 85,000 ล้านบาทในครั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้อนุมัติการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) และมอบหมายให้ กฟผ. ช่วยรับภาระค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ตั้งแต่งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 64 จนถึงงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 65 เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 87,849 ล้านบาท ที่จะเรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้เลื่อนออกไปก่อน ส่งผลให้ กฟผ. ต้องรับภาระอัตราค่า Ft ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง

"การรับภาระค่า Ft ดังกล่าว จึงส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กฟผ. ในปี 65 ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ กฟผ. จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาใช้เสริมสภาพคล่องในปี 66 ในวงเงินไม่เกิน 85,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการบริหารค่า Ft ตามนโยบายของรัฐบาล" นายอนุชา กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินของภาครัฐ