เผยประวัติ "ปริญญ์ พานิชภักดิ์" ดีกรีไม่ธรรมดา

14 เมษายน 2565
7.6 k

เผยประวัติ "ปริญญ์ พานิชภักดิ์" ดีกรีไม่ธรรมดา ทั้งสายการเมืองและเศรษฐศาสตร์ ล่าสุดประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

จากกรณีที่ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ออกมาแฉว่าผู้เสียหายร้องเรียนถูกรองหัวหน้าพรรคใหญ่ลวนลาม และมีการพุ่งเป้าว่าเป็นนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ล่าสุดวันที่ 14 เมษายน 2565 เมื่อเวลา 15.07น. นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นและได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว พร้อมทั้ง ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

เผยประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา

สำหรับประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา ทั้งสายการเมืองและเศรษฐศาสตร์

โดยปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นลูกชายของนายศุภชัย พานิชภักดิ์ และนางศสัย พานิชภักดิ์ มีน้องสาว 1 คน คือ นางสาวนฤน พานิชภักดิ์

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2520 ที่ กรุงเทพมหานคร เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนจะย้ายไปศึกษาระดับไฮสคูลต่อที่ Millbrook House school และ Charterhouse School ประเทศอังกฤษ 

นายปริญญ์ จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน BSc. Economics and International Relations จาก L.S.E. (London School of Economics and Political Science) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2542 

-
"ไฮโซลูกนัท" แฉอีก "ปริญญ์ พานิชภักดิ์" คนในวงธุรกิจ นักการเมือง ใครๆก็รู้
-รอง ผบช.น. ตามคดีนักการเมืองฉาว เผยเข้าข่ายอนาจาร ยอมความไม่ได้
-"ปริญญ์ พานิชภักดิ์" แจงเหตุผล โทร.หาแม่ สาว18

ต่อมาได้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง อีกหลายครั้ง อาทิ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) รุ่นที่ 2 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 15

สำหรับชีวิตการทำงาน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เริ่มต้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์และการเงิน ตั้งแต่พ.ศ. 2542 ในตำแหน่งวาณิชธนากร ที่ ABN AMRO Bank สหราชอาณาจักร  (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545) และยังทำงานในตำแหน่งอื่นๆดังนี้

-ตำแหน่งรองประธานอาเซียน-UK Business ฟอรั่ม (AUBF)[5] (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548) 
-ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังไทย-UK (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548) 
-รองประธานสายการตลาดและวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ Deutsche Bank - Tisco (พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550) 
-หัวหน้าสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (CLSA) (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551) 
-ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย บริษัท เครดิต ลียองเนส์ ฮ่องกง (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) 
-กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ CLSA (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2562) 
-ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560) 
-กรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562) 
-กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562) 
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562) 
-กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562) 
-ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562)
-กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญการศึกษาผลกระทบ CPTPP รัฐสภา (พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2563) 
-ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565)  

เส้นทางการเมือง 

เผยประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา

 

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ได้ก้าวเข้าสู่การทำงานด้านการเมืองเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาด้วยตำแหน่งรองหัวพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา และเลขาธิการคณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา

ต่อมาในปีพ.ศ. 2563 ก็ได้ช่วยขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ ผลักดันนโยบายบาซูก้า 2 ล้านล้านบาท โครงการเรียนจบพบงาน โครงการแก้ปัญหาสินค้ามังคุดล้นตลาด 

เผยประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา

นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กับหลายหน่วยงาน ได้แก่

-ผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโฟร์ซีซัน (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
-กรรมการ บริษัทสินวัฒนา Crowdfunding (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
-กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด  (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) 
-ที่ปรึกษา และคณะทํางาน รองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
-ที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
-เลขาฯ คณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา
 

 

ขอบคุณ วิกิพีเดีย