คลายข้อสงสัย ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต่างกันอย่างไร
คลายข้อสงสัย ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ที่จะได้แจกเงินเยียวยา นั้นต่างกันอย่างไร โดยผู้ประกันตนที่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องมีบัญชีธนาคารที่พร้อมเพย์ผูกกับบัตรประชาชน
หลักจากมีมาตรการการแจกเงินเยียวยาจากประกันสังคม มาตรา 33 , 39 , 40 ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สีแดงสีแดงเข้ม 13 จังหวัดได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.นครปฐม 3.นนทบุรี 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.นราธิวาส 8.ปัตตานี 9.ยะลา 10.สงขลา 11.อยุธยา 12.ชลบุรี 13.ฉะเชิงเทรา และอยู่ใน 9 กลุ่มอาชีพมีดังนี้ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ 8.กิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
ทำให้มีประชาชนหลานคนสงสัยว่า แต่ละมาตรานั้นมีความแตกต่างกันอย่างๆไร มีรายละเอียดดังนี้
มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
เงินสมทบ
- 5% ของเงินเดือนสูงสุไม่เกิน 750 บาท/เดือน
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 2500 บาท ในกรณีที่บริษัทได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล รับเพิ่ม 50% ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ไม่เกิน 90 วัน
วิธีการสมัคร
- นายจ้างดำเนินการให้ โดนสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่นี่
มาตรา 39 คือ คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ แล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน
เงินสมทบ
- 432 บาท/เดือน
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท
มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำงานไม่มีนายจ้าง
- จ่ายเงินสมทบ
ทางเลือกที่ 1 : 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2: 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 : 300 บาท/เดือน
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท
วิธีสมัคร
- สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม ช่องทางออนไลน์ และช่องทางอื่นๆที่ประกันสังคมแจ้ง
หมายเหตุ: โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน วันที่ 6 สิงหาคม 2564 (ยกเว้น 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จะพิจารณาในสัปดาห์หน้า)