ผลการศึกษาขั้นต้นชี้ วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร สายพันธุ์เดลตาได้

09 กรกฎาคม 2564
2

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ส่วนตัว เผยผลการศึกษาขั้นต้น วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร Covid สายพันธุ์เดลตาได้

โดยความร่วมมือจาก ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า..

ในขณะที่วัคซีนชนิดอื่นๆเช่น mRNA , Protein subunit ยังไม่มี การบริหารวัคซีนที่มี 2 ชนิด คือ Sinovac or Sinopharm หรือ Astra Zeneca จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรีบหาคำตอบว่าสูตรไหนจะป้องกันสายเดลตาได้

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Sinovac 2 เข็มแม้ระดับNeutralize antibody ขึ้น 80-90% แม้ว่าจะวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์แอลฟาได้บ้างแต่ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้เลย

แต่ในคนที่ได้ AZ ครบ2 เข็มและมีระดับNeutralize antibody ที่สูงเกิน 90% สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีระดับหนึ่งและ ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 เมื่อ wave3 ที่ผ่านมา เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วย AZ เข็มเดียวให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์ เดลตาได้เทียบเท่า AZ 2 เข็ม ส่วนผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 อีกคน แม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์แอลฟาที่สูงแต่กับ เดลตา กับมีน้อยมาก

วัคซีนสูตรผสม SV + AZ ให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีกว่า SVx2 แต่ไม่เท่า AZx2 สุดท้าย ที่ดูแนวโน้มดีสุด คือ ผู้ที่ได้ SVx2 + AZx1 ที่เป็นอาสาสมัครในการทดสอบ มีระดับภูมิคุ้มกัน Neutralize antibody สูง99% รวมถึง ค่า IC50 ต่อสายพันธุ์ เดลตา ในระดับสูงสุด

จากข้อมูลการศึกษาเบื้องต้น แม้ว่าเราจะยังไม่มีวัคซีน mRNA แต่สำหรับบุคลากรด่านหน้าผู้เสียสละ ซึ่งได้รับSV เป็นส่วนมากในช่วงแรก แต่ระดับการป้องกันตอนนี้คงไม่เพียงพอต่อไวรัสกลายพันธุ์เดลตา การใช้ AZ เป็นเข็มกระตุ้น ก็น่าจะเพียงพอให้เขาปลอดภัยในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนชนิดmRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ขอบคุณ 
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC และ ทีมงานที่ช่วยทำการทดสอบ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ เดลตา