เซ็นสำเนาบัตรประชาชนอย่างไรให้ปลอดภัย? ธนาคารมีคำตอบ

21 กุมภาพันธ์ 2568

เซ็นสำเนาบัตรให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากมิจฉาชีพ วันนี้ธนาคารมีคำตอบ

เซ็นสำเนาบัตรให้ปลอดภัย ในยุคที่มิจฉาชีพมีกลโกงสารพัดรูปแบบ การป้องกันข้อมูลส่วนตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สำเนาบัตรประชาชน ซึ่งอาจตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพได้ง่าย ธนาคารหลายแห่งจึงได้ออกมาแนะนำวิธีการเซ็นสำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

 

เซ็นสำเนาบัตรประชาชนอย่างไรให้ปลอดภัย ธนาคารมีคำตอบ

เซ็นสำเนาบัตรประชาชนอย่างไรให้ปลอดภัย? ธนาคารมีคำตอบ บทความนี้ได้รับคำแนะนำจากธนาคารกรุงไทย มีรายละเอียดดังนี้

1. ถ่ายแค่หน้าบัตรเท่านั้น 

ไม่ถ่ายหลังบัตรเด็ดขาด เพราะมีรหัส Laser ID ที่ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงิน ถ้ารหัสนี้หลุดไปอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดได้

2. ขีด 2 เส้นคร่อมบนสำเนาบัตร

ไม่ทับรูปถ่าย เพราะจะทำให้ยากต่อการยืนยันตัวตน ทับเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลง

3. ระบุการใช้งานให้ชัดเจน

เขียนระหว่างเส้นคร่อม ว่าใช้สำหรับอะไร เช่น "ใช้สำหรับสมัครงานเท่านั้น" ป้องกันการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

 

4. ใส่ # หัว-ท้ายประโยค

ป้องกันไม่ให้มีการเติมข้อความเพิ่ม

5. ลงวันที่ให้ชัดเจน

ระบุ วัน/เดือน/ปี ที่เซ็นสำเนา ช่วยกำหนดอายุการใช้งานสำเนา

6. เซ็นรับรองสำเนาให้ถูกต้อง

เขียน "สำเนาถูกต้อง" พร้อมเซ็นชื่อทับลงบนตัวบัตรเพื่อความปลอดภัยสูงสุด

 

ลูกค้ากรุงไทยที่มีความเสี่ยงหรือได้รับความเสียหาย สอบถามหรือแจ้งเหตุได้ที่ โทร. 02-111-1111 กด 108 ตลอด 24 ชั่วโมง