สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

01 พฤษภาคม 2567
28

วันที่ 30 เมษายน 2567 กรมอุทยานฯ โดย สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัยจำนวน 4 ตัว

วันที่ 30 เมษายน 2567 นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 พร้อมด้วยนายจิระเดช บุญมาก ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า นางสาวพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ นางสาวอังสนา มองทรัพย์ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ จังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ กำแพงแสน ดำเนินการปล่อยแร้งหิมาลัย จำนวน 4 ตัว

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

ได้แก่ KU995 แร้งดำหิมาลัย ชื่อมังกรกัญญ์ (น้องช้าง) KU997 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ชื่อขนมถ้วย KU998 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย KU1000 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย บริเวณฝายน้ำล้นภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ จังหวัดอุทัยธานี
ในการนี้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ติดตามการปล่อยแร้งหิมาลัยในครั้งนี้ด้วย

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

สำหรับแร้งหิมาลัยทั้ง 4 ตัวนี้ มีแร้งดำหิมาลัยที่พบมีอาการอ่อนแรงกางปีกบินไม่ได้ในพื้นที่จังหวัดกำแพงพชร และนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้ทำการรักษาในเบื้องต้นเพื่อฟื้นฟูร่างกาย แล้วได้ตั้งชื่อไว้เบื้องต้นชื่อว่า #น้องช้าง และส่งต่อไปพักฟื้นร่างกายให้สมบูรณ์ที่หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ โดยมีรหัสเรียกขานว่า KU995 แร้งดำหิมาลัย ชื่อมังกรกัญญ์

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

โดยก่อนดำเนินการปล่อยแร้งหิมาลัยทั้ง 4 ตัว คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยสัญญาณดาวเทียม ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ส่งพิกัดดาวเทียม (tag#0931 น้ำหนักเบา ไม่เกิน 4-5% ของน้ำหนักตัว) เพื่อติดตาม ศึกษาพฤติกรรมหลังการปล่อยคืนธรรมชาติ บนเส้นทางอพยพของแร้งหิมาลัย สายเหนือ/ตะวันตก/ใต้ พร้อมติดห่วงขาสีเหลือง (เพศผู้) และสีเขียว (เพศเมีย) อีกด้วย

สบอ.12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ ปล่อยแร้งหิมาลัย

ข้อมูล : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ กำแพงแสน,ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.12 (นครสวรรค์)

ภาพ : ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า