ตลาดรถป้ายเเดงร่วงหนัก "โตโยต้า" เผยตลาดรถยนต์ไตรมาส 1 หดตัวกว่า 24.6%
โตโยต้า ประเทศ ไทย เผยรายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยระบุว่าตลาดรถยนต์ไตรมาสที่ 1 มียอดจำหน่ายรวมทุกเซกเมนต์เพียง 163,756 คัน ลดลง 24.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ตลาดรถป้ายเเดงร่วงหนัก "โตโยต้า" เผยตลาดรถยนต์ไตรมาส 1 หดตัวกว่า 24.6%
โตโยต้าชี้จับตลาดรถไฮบริดหลังยอดขายเดือนมีนาคมยอดพุ่งเกือบ 70% สวนทางตลาดรถยนต์ไตรมาสแรกหดตัว 24.6% ขายที่ 163,756 คัน ชี้เป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว-สินเชื่อเข้ม
ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม ปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามียอดขายโดยทั้งสิ้น 56,099 คัน ลดลง 29.8% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 22,342 คัน ลดลง 25.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 33,757 คัน ลดลง 32.6% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 19,648 คัน ลดลง 45.5%
สำหรับยอดขายที่ลดลงเป็นผลมาจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาคเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลให้กำลังซื้อยังคงจำกัด และควบคู่ไปกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
โดยจะเห็นว่าในส่วนของตลาดรถยนต์ไฮบริด (HEV) มียอดขายเพิ่มขึ้น 68.9% หรือมียอดที่ 12,689 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้รถยนต์ในกลุ่ม xEV ของเดือนมีนาคมเติบโตขึ้น 19.5%
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ BEV ลดลง 25.6% มียอดขายที่ 5,167 คัน ส่วนรถปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) ลดลง 27.1% มียอดขาย 897 คัน
ส่วนตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ สามารถเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และรวมถึงการเริ่มส่งมอบรถยนต์ใหม่ที่จองในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เป็นปัจจัยบวกและเริ่มส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์
ส่วนยอดขายรถยนต์สะสมในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) พบว่ามีปริมาณการขาย 163,756 คัน ลดลง 24.6% แบ่งเป็นโตโยต้า 58,810 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%, ฮอนด้า 25,104 คัน ลดลง 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 15.3%, อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
รถยนต์นั่งมียอดขาย 65,615 คัน ลดลง 15.4% แบ่งเป็นโตโยต้า 16,631 คัน ลดลง 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.3%, ฮอนด้า 14,198 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%, มิตซูบิชิ 4,954 คัน ลดลง 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
รถเพื่อการพาณิชย์มียอดขาย 98,141 คัน ลดลง 29.7% แบ่งเป็นโตโยต้า 42,179คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 43%, อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%, ฮอนด้า 10,906 คัน เพิ่มขึ้น 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.1% ส่วนตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pickup และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 56,425 คัน ลดลง 44.4% แบ่งเป็นโตโยต้า 25,248 คัน ลดลง 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%, อีซูซุ 21,481 คัน ลดลง 50.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%, ฟอร์ด 5,931 คัน ลดลง 46.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
สถิติยอดขายรถใหม่เดือนมีนาคม 2567
ยอดขายรวมทุกเซกเมนต์เดือนมีนาคม 2567
- TOYOTA - 21,582 คัน
- ISUZU - 8,861 คัน
- HONDA - 8,219 คัน
- MITSUBISHI - 3,012 คัน
- FORD - 1,745 คัน
- MG - 1,707 คัน
- BYD - 1,132 คัน
- SUZUKI - 1,004 คัน
- NISSAN - 927 คัน
- MAZDA - 924 คัน
- ยอดขายรถยนต์นั่งเดือนมีนาคม 2567
- TOYOTA - 6,606 คัน
- HONDA - 6,869 คัน
- MITSUBISHI - 2,039 คัน
- MG - 1,393 คัน
- SUZUKI - 932 คัน
- BYD - 891 คัน
- MAZDA - 500 คัน
- NISSAN - 385 คัน
- NETA - 376 คัน
- GWM - 345 คัน
ยอดขายรถกระบะเดือนมีนาคม 2567
- TOYOTA - 7,367 คัน
- ISUZU - 6,705 คัน
- FORD - 1,062 คัน
- MITSUBISHI - 674 คัน
- NISSAN - 291 คัน
- MAZDA - 80 คัน
- MG - 33 คัน
ยอดขายรถอเนกประสงค์ดัดแปลง (PPV) เดือนมีนาคม 2567
- TOYOTA - 1,262 คัน
- ISUZU - 1,160 คัน
- FORD - 682 คัน
- MITSUBISHI - 298 คัน
- NISSAN - 34 คัน
โดย โตโยต้าระบุเพิ่มเติมว่าในเดือนเมษายนมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น อันเป็นผลจากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ สามารถเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และรวมถึงการเริ่มส่งมอบรถใหม่ที่จองในงาน Bangkok International Motor Show 2024 เป็นปัจจัยบวกและเริ่มส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์