ปวดท้องเรื้อรัง ระวังอาจจะเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
หลาย ๆ คนที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดเป็นประจำ ปวดท้องเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย อย่านิ่งนอนใจ หรือปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ในไทย โดยจะพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย
อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
. มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายบ่อย ถ่ายลำบาก ท้องเสียสลับท้องผูก
. ถ่ายเป็นเลือด เป็นมูก หรือมีมูกปนเลือด
. อาการปวดท้องเรื้อรัง (ไม่ทราบสาเหตุ)
. น้ำหนักลด (โดยไม่มีสาเหตุอื่นอธิบาย)
. ภาวะซีด จากการขาดธาตุเหล็ก
. คลำพบก้อน ในช่องท้อง
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
. ผู้มีประวัติพบติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ (อาจมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่)
. ผู้ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
. ผู้ที่มีประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นโรคเบาหวาน (มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย)
. ผู้ที่รับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูงเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย
. ผู้ที่รับประทานอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ มากเกินไป
. ผู้ที่รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และมีการตกค้างที่ลำไส้ ในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง หมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ล้างไม่สะอาด
. ผู้ที่มีประวัติ ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกิน
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่
. การตรวจโดยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า “โคโลโนสโคป (Colono scope)” เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ แผล
. หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ บริเวณลำไส้ สามารถตัดชิ้นเนื้อ ตรวจหาสาเหตุของโรค เพิ่มเติม โดยเฉพาะโรคมะเร็ง
. ช่วยห้ามเลือดที่บริเวณลำไส้ หรือ ชี้บอกตำแหน่งให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้ อย่างแม่นยำ
ขอบคุณ : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ