เตือน ผัก 4 ชนิด ป่วยโรคไต-โรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด
เผย 4 ผักที่ผู้ป่วยโรคไตและโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด เพราะมีพิวรีนสูงจนสามารถสร้างความเสี่ยงให้โรคเก๊าท์ โรคไตได้
ผู้ป่วยโรคไตและโรคเก๊าท์คงคุ้นเคยกันดีกับ "สารพิวรีน" ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่เซลล์ใช้ในการผลิต DNA และ RNA ซึ่งสารนี้ไม่ค่อยถูกโรคกับผู้ป่วย 2 โรคที่ว่ามาเท่าไหร่ กินในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลทำให้กรดยูริคในเลือดสูง ทำให้อาการของโรคกำเริบได้ และอาจถึงขั้นไตวายได้ แต่พิวรีนก็ไม่ใช่สารอันตรายที่มีแต่ผลเสียเท่านั้น หากจะส่งผลเสียคือต้องกินในปริมาณที่มากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อวัน
วันนี้เรามาเตือน 4 ผักที่มีพิวรีนสูง คนที่ป่วยโรคไต โรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด คือ
1.ต้นอ่อนทานตะวัน มีปริมาณพิวรีนที่ 143 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักผักที่ 100 กรัม
2.ต้นอ่อนถั่วลันเตา มีปริมาณพิวรีนที่ 222 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักผักที่ 100 กรัม
3.เห็ดต่างๆ มีปริมาณพิวรีนที่ 488 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักผักที่ 100 กรัม
4.ถั่วงอก มีปริมาณพิวรีนที่ 80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักผักที่ 100 กรัม
นอกจากนี้ยังมีผักต้องห้ามที่ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผักใบเขียวต่าง ๆ ซึ่งมีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ แครอท มะเขือเทศ บร็อคโคลี ถั่วฝักยาว ฟักทองกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มันสำปะหลัง ผักโขม ผักแพว ปวยเล้ง ใบชะพลู ใบยอ คื่นฉ่าย ผักกวางตุ้ง เป็นต้น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกินผักพวกนี้ได้จริง ๆ ควรกินผักแบบสุก เพราะผักที่ผ่านความร้อนแล้ว ปริมาณโพแทสเซียมจะลดน้อยลง หรือเลือกกินผักที่มีโพแทสเซียมปานกลางหรือผักที่มีโพแทสเซียมน้อย ในปริมาณที่เหมาะสม