จริงหรือไม่? คอตตอนบัดแคะหูบ่อย ๆ เป็นอันตราย
โดยปกติทั่วไปเมื่อมีอาการคันหูจึงใช้คอตตอนบัด หรือไม้แคะหู เพื่อทำความสะอาดและแก้อาการคันในรูหู ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแคะหูเลย อีกทั้งการแคะหูยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายแก่รูหู
นพ. ภาสกร วันชัยจิรบุญ อายุรแพทย์ กล่าวว่าปกติแล้วทางการแพทย์ “ไม่แนะนำ” ให้ใส่คอตตอนบัท หรือสิ่งใด ๆ เข้าไปในรูหู เพราะว่าขี้หู หรือ earwax เป็นเรื่องธรรมชาติที่หูจะผลิตออกมา เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู ดังนั้นวิธีการทำความสะอาดหู เพียงแค่ใช้คอตตอนบัด หรือสำลีอื่น ๆ เช็ดบริเวณรอบนอกรูหู หรือปากรูหู เพื่อทำความสะอาดในกรณีที่หูสกปรก หรือขี้หูไหลออกมานอกรูหูเท่านั้น
อันตรายหลังจากการแคะหู
- หูอื้อหลังแคะหู
- แคะหูแล้วเป็นแผล
- มีเลือด และหนองไหลออกจากรูหู
- หูอักเสบ
- แห้วหูทะลุ
- ขี้หูอุดตัน
- อุบัติเหตุ เช่น ก้านสำลีหลุดเข้าไปในรูหู
แคะหูด้วยคัตตอนบัด
การใช้คัตตอนบัด หรือก้านสำลีมาแคะหู จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของต่อมที่สร้างขี้หู เมื่อมีขี้หูเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งใช้คัตตอนบัดมาแคะหู ไม่ได้ทำให้ขี้หูออกมาจนหมดแต่อย่างใด หากแต่เป็นการดันขี้หูให้อันแน่นในรูหู ให้ลึกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้ โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ
วิธีการแคะขี้หูให้ปลอดภัย
วิธีการแคะขี้หูที่มีความปลอดภัย คือการทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการส่องกล้องภายในรูหู และใช้เครื่องมือในการนำขี้หูออก โดยไม่สัมผัสตัวเยื่อบุ หรือผนังหู หากไม่สามารถพบแพทย์ได้ สามารถทำการแคะหูเองได้ดังนี้
- ทำความสะอาด ข้างหน้า และข้างหลังใบหู
- ใช้เบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หยดลงในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้ง่าย
- เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ใช้อุปกรณ์ เช่น คัตตอนบัด แหย่เข้าไปในรูหู และแคะขี้หูออกมาอย่างเบามือที่สุด
- เมื่อเสร็จแล้ว ทำความสะอาดรูหู และใบหูด้วยเบบี้ออยล์ แล้วเช็ดให้แห้ง
ข้อควรระวังในการแคะหู
- ควรใช้คอตตอนบัดทำความสะอาดเพียงบริเวณใบหู และบริเวณปากรูหูเท่านั้น
- ไม่ควรใช้อุปกรณ์ในการแคะหูซ้ำโดยเด็ดขาด ควรใช้ครั้งเดียว และทิ้งเลย
- ผู้ที่มีอาการแพ้เบบี้ออยส์ และแพ้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ควรหลีกเลี่ยงของเหลวเหล่านี้ในการแคะหู
- หลีกเลี่ยงการใช้ของเหลวต่างๆ มาใช้ในการแคะหู โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ และน้ำเปล่า เพราะจะทำให้หูแห้งจนเกินไป อีกทั้งหากไหลเข้าลงสู่หูชั้นใน อาจเกิดการอักเสบ ระคายเคือง จนเกิดโรคหูน้ำหนวกได้
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำเข้าหูแล้วมีอาการหูอื้อ หรือรู้สึกว่าน้ำยังไม่ออกจากหู ไม่ควรนำอุปกรณ์ใดๆสอดเข้าไปในรูหูโดยเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์