ไขคำตอบ "กินข้าวหอมมะลิตอนท้องว่าง เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง" จริงหรือมั่ว
ไขคำตอบ แชร์กันสนั่นกินข้าวหอมมะลิตอนท้องว่างเสี่ยงน้ำตาลในาเลือดสูง ล่าสุด โรงพยาบาลราชวิถี2 แจงข้อมูลชัดเจนแล้ว
กรณีโลกออนไลน์แชร์ข้อความเตือนภัยกินข้าวหอมมะลิตอนท้องว่างเสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง ล่าสุด โรงพยาบาลราชวิถี2 (รังสิต) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการตรวจสอบและชี้แจงข้อมูลไว้กระจ่างชัดแล้ว โดยพบว่าเป็นข้อมูลที่บิดเบือน ไม่เป็นความจริง ระบุ
ตามที่มีผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินข้าวสวยหอมมะลิตอนท้องว่าง เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับโรงพยาบาลราชวิถี2 (รังสิต) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
กรณีที่มีผู้โพสต์ในสื่อออนไลน์โดยระบุว่า กินข้าวสวยหอมมะลิตอนท้องว่าง เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง เป็นข่าวบิดเบือน "กินข้าวสวยหอมมะลิตอนท้องว่าง เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง"
ทางโรงพยาบาลราชวิถี2 (รังสิต) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า มีข้อมูลทางการแพทย์ที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ การรับประทานอาหารจำพวกข้าวหรือกลุ่มคาร์โบไฮเดรต จะมีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ในกระบวนการย่อยอาหาร ดังนั้นหากทานในปริมาณมากก็จะมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะการทานตอนท้องว่างเท่านั้น เพียงแต่การทานตอนท้องว่างอาจทำให้ทานในปริมาณที่มากขึ้นจากความหิว
ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าวเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี2 (รังสิต) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithirangsit.go.th หรือโทร 02-592-9550 ต่อ 99
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การรับประทานอาหารจำพวกข้าวหรือกลุ่มคาร์โบไฮเดรต จะมีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ในกระบวนการย่อยอาหาร ดังนั้นหากทานในปริมาณมากก็จะมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะการทานตอนท้องว่างเท่านั้น
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี2 (รังสิต) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข