วิธีลงทะเบียน "เบี้ยผู้สูงอายุ" รับเงินช่วยเหลือ 3000 เปิดให้ลงทะเบียน 2 ทาง
เปิดวิธีลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท พร้อมสถานที่ยื่นลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000 บาท
หลายคนคงทราบหลักเกณฑ์มาบ้างแล้วว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โอนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพิ่มรวม 900 บาท ในระยะเวลา 9 เดือน โดยจะเริ่มโอนเงินยังชีพผู้สูงอายุงวดแรก 11-13 มี.ค.นี้
โดยเปิดลงทะเบียน รับเงินผู้สูงอายุ 3,000 บาท ได้ 2 ทาง ดังนี้
- พื้นที่กรุงเทพฯ สามารถขอรับความช่วยเหลือได้ที่
- กรมกิจการผู้สูงอายุ
- กรมกิจการเด็กและเยาวชน
- กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
- กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
- พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ สามารถขอรับความช่วยเหลือได้ที่
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) 76 จังหวัด
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 11 แห่ง
- หน่วยงานในสังกัด พม. ที่อยู่ในจังหวัดนั้น
ยื่นขอรับความช่วยเหลือ เงินผู้สูงอายุ 3,000 บาท ทำอย่างไรบ้าง ?
การยื่นรับความช่วยเหลือเงินผู้สูงอายุ 3,000 บาท แบ่งเป็น 2 กรณี
- กรณีผู้สูงอายุแจ้งเรื่องเอง ใช้เอกสารดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- กรณีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นพบเห็นใช้เอกสารดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชน-บัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้แจ้งเรื่องมาใช้ประกอบเป็นเอกสารยื่น
หากไม่มีหลักฐาน
ให้มีหนังสือรับรองที่ทางราชการออกให้ ว่าผู้สูงอายุมีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่นั้นจริง
เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุแล้วต้องลงใหม่ไหม?
กรณีคนที่เคยลงทะเบียนไปแล้วไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก สำหรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเว้นย้ายที่อยู่ จึงค่อยไปแจ้งยืนยันสิทธิ์ใหม่ (กรณีย้ายตามทะเบียนบ้าน)
อัตราการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ
การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ จะแบ่งเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ คือ
- อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
- อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
- อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท