thainewsonline

ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

13 พฤษภาคม 2566
541
ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

"ทนายรัชพล" ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้ออกมาโพสต์ช้อความ เผยกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องเป็นคนค้ำต่อหรือไม่

"ทนายรัชพล" ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กผ่านเพจ ทนายรัชพล ศิริสาคร Fanpage โดยระบุข้อความว่า หลายคนคงยังไม่รู้ ถ้าพ่อแม่เราไปค้ำประกันให้ใครก็ตามแล้วพ่อแม่เราเสียชีวิตลง การค้ำประกันนั้น จะตกมาสู่ทายาท

ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่ ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

จริงๆ ก็ไม่ถึงกับเป็นผู้ค้ำประกันต่อหรอก แต่ก็ใกล้เคียง เพราะหน้าที่ของผู้ค้ำทั้งหมด มันจะกลายเป็นมรดก ทำให้ทายาทต้องกลายมาเป็นผู้ค้ำ ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ เป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 1268/2555

ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น

 

ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600

  • ดังนั้น จะไปค้ำประกันใคร ก็นึกถึงลูกหลานไว้ด้วย เพราะมันจะเป็นมรดกให้ทายาทต่อไป

ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่ ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

Thailand Web Stat