เช็กเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม ได้แก่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด , เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และ เบี้ยผู้พิการ โดย กรมบัญชีกลาง จะโอนเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง เข้าบัญชีในทุกวันที่ 10 ของเดือน แต่หากตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันเสาร์-อาทิตย์ จะทำการโอนให้ล่วงหน้าก่อนในวันเวลาราชการ
เงินกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม โอนเข้า 9 ก.ค. 2568 แต่ละกลุ่มได้กี่บาท
สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2568 กรมบัญชีกลาง จะโอนเงินในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 เนื่องจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เป็นวันหยุดอาสาฬหบูชา ตรวจสอบแต่ละกลุ่มได้เงินกี่บาท
1. เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด หรือ เงินอุดหนุนบุตร เป็นโครงการของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องเป็นเด็กที่มีสัญชาติไทย อาศัยอยู่กับบิดามารดา หรือผู้ปกครองที่ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี โดยจะได้รับเงินอุดหนุนบุตร ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 600 บาทต่อคนต่อเดือน และไม่จำกัดจำนวนบุตร
สำหรับใครที่มีคุณสมบัติตรงเงื่อนไข สามารถยื่นลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท ได้ตลอด โดยติดต่อลงทะเบียนได้ในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง ได้แก่
ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น เงินเด็ก โดยผู้ปกครองต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่าน แอปพลิเคชัน ThaID ของกรมการปกครองก่อน เมื่อตรวจสอบสิทธิผ่านแล้ว จะได้รับเงินมีผล ตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียนรับเงิน
ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบสถานะสิทธิเงินอุดหนุนบุตรได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
เงินกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม โอนเข้า 9 ก.ค. 2568 แต่ละกลุ่มได้กี่บาท
2. เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน รายละ 600-1,000 บาท ตามเกณฑ์อายุ ดังนี้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
3. เป็นผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2569 นับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2568 (เกิดตั้งแต่ 2 กันยายน 2508 – 1 กันยายน 2509)
4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
เอกสารที่ต้องเตรียม
***ในกรณีผู้สูงอายไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคําขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
สำหรับสถานที่ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ สํานักงานเขต หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีภูมิลําเนา
3. เบี้ยผู้พิการ
ผู้พิการทุกคนที่มีบัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ "เบี้ยความพิการ" ได้เงินคนละ 800-1,000 บาทต่อเดือน ดังนี้
ทั้งนี้ หากเป็นคนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็จะสามารถกดเพิ่มจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนอีก 200 บาทต่อเดือน รวมได้รับรายละ 1,000 บาทต่อเดือน
ผู้พิการสามารถติดต่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดในทุกจังหวัด) หรือพื้นที่กรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ , ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร