วัคซีน งูสวัดผลข้างเคียงที่มีจริงและต้องทำความเข้าใจ
วัคซีนงูสวัด หรือชื่อทางการว่า Recombinant Zoster Vaccine (RZV) อย่าง Shingrix® เป็นวัคซีนรุ่นใหม่ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูง
ช่วยป้องกันโรคงูสวัดได้ดีแม้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะวัคซีนนี้ ไม่ใช่เชื้อเป็น จึงปลอดภัยกว่าแบบเดิม แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนเรื่องการอักเสบในร่างกาย
ทำไมบางคนถึงกังวล?
แม้วัคซีนนี้จะได้ผลดี แต่ก็มี ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยและชัดเจน โดยเฉพาะหลังฉีดวัคซีน เข็มแรกหรือเข็มที่สอง เช่น
ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด
มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ
รู้ก่อนฉีด! ต้องทำความเข้าใจ “วัคซีนงูสวัด” ได้ผลดีจริงไหม
รู้ก่อนฉีด! ต้องทำความเข้าใจ “วัคซีนงูสวัด” ได้ผลดีจริงไหม
มันเกิดจากอะไร?
มีการศึกษาวิจัยในหนูทดลอง ซึ่งพบว่า หลังฉีดวัคซีน มีการหลั่ง “ไซโตไคน์” ซึ่งเป็นสารอักเสบในร่างกาย เช่น
IL-6 และ G-CSF: กระตุ้นอาการอักเสบเฉียบพลัน เช่น บวม แดง ปวด
IL-10: เป็นตัวช่วยลดการอักเสบ (ร่างกายพยายามควบคุมตัวเอง)
IFN-γ, IL-4, IL-5: สะท้อนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทั้งแบบ Th1 และ Th2
โดยเฉพาะหลัง เข็มที่ 2 จะยิ่งมีการตอบสนองมากขึ้น ซึ่งตรงกับที่คนจำนวนมากมักบอกว่า “อาการหลังเข็มสองแรงกว่า”
สรุปว่า...ควรฉีดไหม?
วัคซีนชนิดนี้ มีความคุ้มค่าในการป้องกันโรคงูสวัด ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยทรมานจากอาการปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
แต่ควรทราบไว้ว่า ผลข้างเคียงเป็นเรื่องปกติ และจะหายภายในไม่กี่วัน หากมีอาการมาก แนะนำให้พบแพทย์
รู้ก่อนฉีด! ต้องทำความเข้าใจ “วัคซีนงูสวัด” ได้ผลดีจริงไหม
รู้ก่อนฉีด! ต้องทำความเข้าใจ “วัคซีนงูสวัด” ได้ผลดีจริงไหม
FB: ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
บทความโดย นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ
รองประธานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิจัย
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข ม.รังสิต
อ้างอิง: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9413309/