ทำเอาชาวเน็ตขนลุกทั้งโซเชียล หลังผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Kannika Suakeaw โพสต์ภาพมือของตนเองที่มีเส้นแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนัง พร้อมแคปชั่นปริศนา “ให้ทุกคนทายหน่อยค่ะว่ามันคืออะไร ทุกคนจะคิดไม่ถึง แล้วค่อยเฉลย จะได้ป้องกัน” ก่อนจะออกมาเฉลยแบบชวนผวาว่า ตนเอง “โดนพยาธิไชใต้ผิวหนัง” เจ้าตัวเล่าว่า ก่อนหน้านั้นได้ไปถอนหญ้าทั้งวัน พอกลับมาเริ่มรู้สึกคันมากบริเวณมือ พอตื่นเช้ามาเห็นตุ่มน้ำใสและเส้นใต้ผิวที่เคลื่อนที่ได้ จึงรีบไปพบแพทย์ ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อจากพยาธิในดิน
โดยหมอเผยว่า พยาธิดังกล่าวสามารถเข้าสู่ผิวหนังผ่านแผลหรือรอยถลอกได้ แม้จะพบได้น้อยในผู้ใหญ่ แต่หากไม่ระวัง โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสดินโดยตรง ก็อาจเจอเหตุการณ์แบบนี้ได้ โพสต์ดังกล่าวกลายเป็นไวรัลทันที มีคนแชร์และแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แสดงความตกใจและซักถามถึงการป้องกัน
ด้านเพจ FMC คลินิกเวชกรรม ก็ได้ออกมาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคดังกล่าว โดยระบุว่าอาการนี้เรียกว่า Cutaneous Larva Migrans (CLM) หรือ โรคตัวอ่อนพยาธิไชผิวหนัง มักเกิดจาก พยาธิปากขอของสัตว์ เช่น สุนัขหรือแมว ซึ่งพบได้ในมูลสัตว์ที่ปนเปื้อนในดินหรือทราย ตัวอ่อนของพยาธิสามารถไชเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ เมื่อเดินเท้าเปล่า หรือนั่ง-นอนบนพื้นดินโดยไม่มีการป้องกัน
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ CLM
พยาธิที่พบบ่อย
อาการ
พบบ่อยที่
การรักษา
อาจหายเองภายใน 2–8 สัปดาห์
ยาที่ใช้ ได้แก่ Ivermectin หรือ Albendazole ร่วมกับยาทาและยาแก้คัน
วิธีป้องกัน
สรุป เหตุการณ์นี้กลายเป็นอุทาหรณ์สำคัญเรื่องสุขอนามัย โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องทำงานหรือเล่นบนดิน ทราย หรือพื้นดินที่มีโอกาสปนเปื้อนมูลสัตว์ การป้องกันไว้ก่อนด้วยการล้างมือให้สะอาดและหลีกเลี่ยงสัมผัสดินโดยตรง คือทางเลือกที่ดีที่สุดในการเลี่ยงพยาธิร้ายเหล่านี้
ขอบคุณข้อมูลจาก: Kannika Suakeaw และ FMC คลินิกเวชกรรม