การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 กระทรวงการคลัง ได้กำหนดแจกเงินดิจิทัลเฟส 3 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 หรือระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2568 ให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิจำนวน 16 ล้านคน ใช้จ่ายผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กับร้านค้าที่ร่วมโครงการ โดยล่าสุด นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการเดินหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 นั้น คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ อยู่ระหว่างพิจารณาผ่อนปรนให้ร้านค้า และประชาชน สามารถใช้ดิจิทัลวอลเล็ตได้ง่ายขึ้น
โดยในมิติของร้านค้าจะผ่อนปรนให้นำวงเงินจากดิจิทัลวอลเล็ตออกมาใช้ได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้ร้านค้าถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป และร้านค้าที่ถอนเงินสดได้ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น
ขณะที่ในด้านประชาชนนั้น จะปรับเงื่อนไขให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งยังคงเป็นการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต ไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ มีแนวโน้มจะกำหนดพื้นที่ใช้จ่ายเหมือนเดิม คือระดับอำเภอตามทะเบียนบ้าน
อย่างไรก็ตามในเว็บไซต์ โครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet ที่ กระทรวงการคลัง ได้กำหนดไว้ 6 ขั้นตอน วิธีการใช้จ่ายระหว่างประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วิธีการใช้จ่ายระหว่าง ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า การใช้จ่ายภายใต้โครงการฯ ประชาชนสามารถใช้ได้ในพื้นที่ระดับอำเภอ ทั่วประเทศ (878 อำเภอ)
1. การชำระเงินภายใต้โครงการฯ เป็นแบบพบหน้า (Face to Face) โดยจะต้องตรวจสอบจาก
2. ประชาชนจะต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
3. ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป
4. เงื่อนไขของสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้
สินค้าทุกประเภทเข้าร่วมโครงการได้ ยกเว้นสินค้า Negative List ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี น้ำมัน เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องมือสื่อสาร ทั้งนี้ การปรับปรุงสินค้า Negative List ให้เป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ พิจารณากำหนด
5. วิธีการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้ ดังนี้
รอบที่ 1 : เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก
รอบที่ 2 : เป็นต้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า
6. ร้านค้าที่จะสามารถถอนเงินสดได้ เฉพาะร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี และมีคุณสมบัติ ดังนี้
6.1 ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้แก่
เว้นแต่ร้านค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร โดยร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีข้างต้นต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี ดังนี้
6.2 ร้านค้าต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์แบบรายเดือนในการลงทะเบียนรับสิทธิ