แม่ใจสลาย ย่าแอบป้อนน้ำต้มสุกให้ลูกวัย 2 เดือน ทำอาเจียนหนัก - ป่วยนาน 20 วัน
แม่ใจสลาย ย่าแอบป้อนน้ำต้มสุกให้ลูกวัย 2 เดือน ทำอาเจียนหนัก - ป่วยนาน 20 วัน หมอตรวจพบเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย
เชื่อว่าหลายๆ บ้านที่ปู่ย่า - ตายาย กำลังมีหลานตัวน้อยๆ ก็มักจะเห่อเป็นธรรมดา ทำให้บางบ้านอาจจะมีการตามใจหรือมักจะให้หลานกินแต่ของดีๆ ทว่าการให้เด็กกินอาหารที่มากไปอาจจะส่งผลทำให้ป่วยเรื้อรังไปจนโตได้ เช่นเดียวกับเคสนี้
โดย หญิงสาวชาวมาเลเซียรายหนึ่งได้เข้ามาบ่นในโลกออนไลน์ว่า ลำไส้ของลูกสาวบวมจนเกือบเสียชีวิตตอนอายุ 2 เดือน หลังรักษาแล้วต้นตอของโรคยังคงอยู่ จนตอนนี้ลูกสาวอายุ 4 ขวบ 2 เดือนแล้ว ยังคงปวดท้องบ่อยๆ จนทำให้หัวอกคนเป็นแม่ใจสลาย
เธอเล่าว่า แม่สามีมักจะเชื่อเสมอเกี่ยวกับ ลูกสาวของเธอ เพราะกลัวว่า ไม่มีสารอาหารเพียงพอเพราะเด็กทารกค่อนข้างผอม แถมเจ้าของโพสต์ยังโดนสอนซ้ำๆ ว่าควรป้อนทารกแบเบาะด้วยข้าวโอ๊ตและอาหารอื่นๆ เพื่อให้ลูกสาวเติบโตอย่างมีสุขภาพแข็งแรง
เจ้าของโพสต์ยืนยันกับแม่สามีอย่างหนักแน่นว่า อย่าให้อาหารเสริมใดๆ แก่ทารกแรกเกิด แต่แล้ววันหนึ่ง แม่สามีของเธอแอบป้อนน้ำเปล่าให้ลูกสาว แต่แล้วไม่คาดคิดลูกสาวอาเจียนบ่อยและล้มป่วยเป็นเวลา 20 วันติดต่อกัน
เธอรีบพาลูกสาวไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเอกซเรย์อย่างรวดเร็ว แต่พบว่าลำไส้ของลูกสาวบวมผิดปกติและไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนด้วยรังสีเอกซ์ แพทย์จึงต้องฉีดยาให้เด็กน้อย ซึ่ง ผลอยหลับไปในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 3 วัน
เธอบอกว่า แม้ลูกสาวจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและตอนนี้อายุ 4 ขวบ 2 เดือนแล้ว แต่ร่างกายของหนูน้อยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทุกสองเดือนลูกสาวจะปวดท้องกะทันหันและล้มป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เธอต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับยา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของลูกสาวและทุกคนในครอบครัว
เธออธิบายต่ออีกว่า เพียงเพราะดื่มน้ำต้มสุกเพียงเล็กน้อยลูกสาวของเธอก็ป่วยกลายเป็นเช่นนี้และเหตุการณ์นี้ก็ทิ้งบาดแผลไว้ในใจทุกคน
ขณะเดียวกัน ตามรายงานของวารสารทางการแพทย์ ชี้ให้เห็นว่า น้ำเปล่าไม่มีสารอาหารจึงไม่จำเป็นต่อเด็กทารก พร้อมทั้งไม่ควรให้เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ดื่มน้ำเพราะเด็กวัยนี้ได้รับ "น้ำ" จากนมก็เพียงพอแล้ว
หากทารกดื่มน้ำต้มมากเกินไปจะสูญเสียความอยากนม ลำไส้และกระเพาะอาหารจะไม่มีพื้นที่ดูดซับสารอาหารที่สามารถช่วยให้ทารกเติบโต ทำให้ทารกน้ำหนักลด ขาดโภชนาการ และประสบปัญหาพัฒนาการล่าช้า ตลอดจน อาจจะทำให้ลูกท้องอืด ท้องแข็ง และท้องเสียได้
อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังเตือนด้วยว่าการดื่มน้ำมากเกินไปอาจทำให้เกิดพิษจากน้ำในทารกได้โดยเฉพาะเมื่อไตยังไม่เจริญเต็มที่ "ทารกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเปล่าก่อนอายุ 6 เดือนหรือก่อนเริ่มกินอาหารแข็งเพราะนมแม่ ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 88% ของน้ำในนมเพียงพอต่อสุขภาพของทารก"
ข้อมูลจาก ETtoday