หมอธีระวัฒน์ เตือน สารหวานในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล เสี่ยงทำหัวใจวาย อัมพฤกษ์

21 พฤศจิกายน 2566
68

"หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เตือนการใช้สารหวานในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล เสี่ยงทำหัวใจวาย เป็นอัมพฤกษ์

วันที่ 21 พ.ย. 66 "ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha "สารหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาล erythritol เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์"

หมอธีระวัฒน์ เตือน สารหวานในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล เสี่ยงทำหัวใจวาย อัมพฤกษ์

เริ่มมีรายงานออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ในปี 2000 เป็นต้นมา ถึงผลที่อาจไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแทนที่จะเกิดประโยชน์ กลับมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดตีบ

รายงานในวารสารเนเจอร์ 27 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นงานต่อเนื่อง จากการค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ กับการอักเสบ และเส้นเลือดตันที่ (วารสารนิวอิงแลนด์และเนเจอร์ในปี 2013) ที่ เนื้อแดง และไข่แดง จะเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์ไม่ดีในลำไส้ ผลิตสารอักเสบชื่อ TMA และ TMAO และเริ่มพบ ว่า สาร polyols ก็มีความสัมพันธ์ร่วม

งานในปี 2023 นี้พบว่าสาร erythritol ซึ่งอยู่ในกลุ่ม polyol ทำให้เกร็ดเลือดไวขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดตัน

การศึกษาเริ่มจากเป็น

untargeted metabolomics

ต่อมาเฉพาะเจาะจง targeted metabolomics ใน คนอเมริกัน 2,149 ราย และคนในยุโรป 833 ราย (validation cohort) ที่มาตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยมีข้อมูลความรุนแรงและการติดตามก่อนหน้านั้นหลายปี โดยใช้ตัวอย่างเลือด ในคนอเมริกันจากรายงานของปี 2013 และควบรวมกับคนในยุโรป พบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างระดับของ erythritol กับ ความเสี่ยงที่สูงขึ้น จากการตรวจด้วย LC-MS

และการทดสอบการทำงานของเกร็ดเลือดพบว่ามีการ

กระตุ้นเพิ่มขึ้น ทั้งในหลอดทดลองและเพิ่มการเกิดเส้นเลือดตันในหนูทดลอง

การศึกษาต่อมา (intervention study) เฉพาะเจาะจงอาสาสมัคร แปดราย กิน erythritol 30 กรัม ที่เป็นขนาดปกติในเครื่องดื่มหรือใน ไอศครีม

คีโต พบระดับในเลือดสูง ลอยมากอยู่จนถึงสองวันถัดมา

ทั้งนี้ ในผลิตภัณฑ์อาหารที่พบอยู่ได้ทั่วไปนั้น จะมีปริมาณของสาร erythritol ในขนาดสูงมากกว่า 30 กรัมด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหวานให้มากขึ้น โดยที่อาจไม่ได้มีการระบุปริมาณที่ชัดเจนเนื่องจากถือว่าเป็นสารปลอดภัย

คณะผู้วิจัย ได้จุดประเด็นที่ควรต้องทำต่อจากนี้ ก็คือการที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นควรที่จะแสดงปริมาณของสาร erythritol ทั้งนี้อาจจะเป็นสารเดี่ยวที่ใส่เข้าไปหรือใส่เข้าไปร่วมกับสารที่ เสมือนมาจากธรรมชาติ ที่ไม่อันตราย เช่น จาก Monk fruit หล่อฮั่งก้วยและ Strevia หญ้าหวาน ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 ถึง 400 เท่า

และในผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นอาจเพิ่มเติม erythritol เพื่อให้สะดวก แก่การผลิตในรูปของการบริโภคสำเร็จ

ควรหรือไม่ ที่ผู้บริโภคอาจจะต้องเตรียมตัวเอง ทั้งนี้ความหวานที่ได้จากผักผลไม้ ที่ต้องกินโดยที่เป็นในรูปของกากไยด้วย เป็นชิ้นเป็นผล เป็นเนื้อ โดยไม่ใช่คั้นเอาแต่น้ำและทิ้งกากใยออกไป ในรูปลักษณะนี้ ความหวานที่ได้จะปลอดภัย และ แม้ว่า erythritol จะมีการสังเคราะห์ขึ้นเองในร่างกายตามธรรมชาติ (endogenous) แต่ปริมาณ ที่เกิดขึ้นจะน้อยกว่าหรือต่ำกว่า ปริมาณที่มีผล กระตุ้นและทำให้เกิดมีความเสียหายต่อเส้นเลือดมาก

ความจำเป็นที่ต้องเข้าใกล้ธรรมชาติ เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง เนื้อสัตว์ แทนด้วยปลา และหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนด้วยสารเคมีและสารทดแทน เป็นเพื่อรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงและไม่เป็นภาระต่อตนเองครอบครัวสังคมและประเทศ

หมอธีระวัฒน์ เตือน สารหวานในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล เสี่ยงทำหัวใจวาย อัมพฤกษ์