"อ.เจษฎ์" แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ "อ.เจษฎ์" ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
เทศกาลลอยกระทง มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ซึ่งเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ตามความเชื่อของคนไทยในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา หรือเพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนา
ล่าสุด "อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โดยได้เปิดเผยว่า
จะเห็นว่าในอดีตผ่านมา เราไปลอยกระทงตามความเชื่อ อย่างเช่น ไปขอขมาพระแม่คงคา ก็ตาม แต่ก็จะเห็นว่า มีขยะจากกระทงเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระทงโฟม กระทงหยวกกล้วย กระทงขนมปัง พวกนี้มันจะเกิดเป็นขยะได้ทั้งนั้นเลย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ก็จะเก็บขยะขึ้นมาเป็นปริมาณมาก ถ้าเก็บไม่หมดก็จะกลายเป็น ขยะที่ปนอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางครั้งก็จะมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แม่น้ำลำคลอง สัตว์น้ำ ค่อนข้างที่จะขัดแย้งกับความเชื่อ ที่ว่า ขอขามพระแม่คงคา
ในช่วงปีที่ผ่านมา 2565 กระทงก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ก็น่าจะเป็นไปได้ว่า อาจจะพอหมดช่วงของการเก็บตัวเรื่องของโควิดเศรษฐกิจ การค้าต่าง ๆ กลับมา บรรยากาศการลอยกระทงก็มากขึ้นด้วย ในปีนี้ก็น่าจะเป็นประเด็น กระทงก็อาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ
สิ่งที่ทำได้คือว่า เราคงไม่ใช่ว่าเลิกเทศกาลลอยกระทงไปเลย แต่ว่าหาทางจัดกิจกรรมที่มันไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น ลด ละ เลิก ก็คือว่า
- การลด พยายามลดจำนวนของกระทงลงไป ใครที่เคยลอย กระทง 1 คน ต่อ 1 ใบ ก็ควรแบ่งกระทง เป็นคู่ เป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้าน ต่อ 1 ใบ ก็ยังได้
- การละ นั่นก็คือ ละการใช้กระทงที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ของคนเองบางที ใช้กระทงที่เป็นหยวกกล้วย หรือ วัตถุที่เป็นธรรมชาติก็ตาม แต่ถ้าเก็บไม่หมด ก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ขนมปัง ก็ค่อนข้าวชัดเจนว่า ทำให้เกิดปัญหากับเรื่องสิ่งแวดล้อมได้มากทีเดียว ปลากินไม่หมดก็จะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ แล้วก็ทำให้น้ำเน่าเสียได้ หรืออาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้กระทงอย่างอื่น เช่น กระทงน้ำแข็ง หรือ กระทงเทียน ที่ใช้แล้วสามารถเก็บขึ้นมาเพื่อหล่อเป็นเทียนใหม่
- การเลิก จุดที่เลิกนั้นไม่ได้หมายความว่า เลิกเทศกาลลอยกระทงไปเลย จะเป็นการเลิกในส่วนของการ ลอยตัวกระทง อย่างเช่น ลอยกระทงออนไลน์ แล้วก็ไปมีความสุขในกิจกรรม งานเทศกาลในส่วน งานลอยกระทง นั่นเอง