"รสนา" จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ชี้!ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ

19 ตุลาคม 2566
10

นางสาวรสนา อดีต สว.กรุงเทพมหานครฯ เข้าพบผู้แทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ

     วันที่ 19 ต.ค.66  นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต สว.กรุงเทพมหานครฯ เดินทางมาที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อเข้าพบผู้แทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ยื่นหนังสือ เรื่องขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฏหมาย ที่เกี่ยวข้องตามนัย 8 ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 สืบเนื่องจากนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของทางภาครัฐฯ

 

\"รสนา\" จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท  ชี้!ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ

 

  นางสาวรสนา กล่าวว่า หากพบว่านโยบายดังกล่าวส่งผลเสียต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ ต้องมีการพิจารณาจัดให้มีการประชุมร่วมกับ กกต. และ ปปช. เพื่อยับยั้งโครงการนี้

 

\"รสนา\" จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท  ชี้!ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ
 

    โดยหนังสือที่นำมายื่น ระบุเหตุผล 6 ประการ ประกอบด้วย  

 

1.นักวิชาการได้ลงความเห็นว่านโยบายการแจกเงิน 10,000 บาท เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวไม่ควรต้องมีการกู้เงินกว่า 560,000 ล้านบาทมาใช้แจกจ่ายสำหรับการบริโภค ควรจะนำเงินที่กู้มานี้ไปใช้พัฒนาระบบต่างๆ ที่มีความยั่งยืนมากกว่า

 

2.อาจจะเป็นการขัดต่อหลักกฏหมาย เนื่องจากเงินที่นำมาแจกเป็นรูปแบบของเงินดิจิทัลหรือโทเค็น อาจสร้างความสับสนว่าจะเป็นคริปโตเคอเรนซี่และอาจเข้าข่ายเป็นการสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี้ยงการขออนุญาตตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 

 

3.โครงการดังกล่าวเพิ่มความสิ้นเปลืองแก่ประเทศโดยไม่จำเป็น เนื่องจากต้องมีการสร้างระบบบล็อคเชนใหม่เพื่อรองรับระบบเงินดิจิทัล ทั้งนี้รัฐไม่จำเป็นต้องพัฒนาบล็อคเช่นใหม่ เพราะมีผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตและ โมบายแบงกิ้ง หลายแอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว เช่น เป๋าตัง ทรูมันนี่ เคพลัส เป็นต้น

 

\"รสนา\" จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท  ชี้!ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ
 

4.หลีกเลี่ยงหลักการใช้เงินแผ่นดิน เนื่องจากรัฐบาลประกาศกำหนดแจกเงินดิจิทัลในเดือน เมษายน 2567 อาจจะเป็นการวางแผนใช้งบประมาณเดิม โดยรัฐบาลจะไม่เสนอโครงการนี้ในกระบวนการงบประมาณต่อรัฐสภาเสียก่อน อาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

 

5.อาจเป็นการซุกหนี้สาธารณะ โดยมีข่าวว่ารัฐบาลจะใช้วิธีให้ธนาคารออมสินกู้หนี้ไปก่อน แล้วรัฐบาลจึงค่อยจัดเงินจากงบประมาณชดใช้ในภายหลัง โดยตนเห็นว่าการดำเนินการนี้จะมีลักษณะเป็นการ "ซุกหนี้" ที่ไม่โปร่งใสและอาจจะอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารออมสิน

 

6.ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 รวมทั้งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและการเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง 

 

\"รสนา\" จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท  ชี้!ส่อขัด พรบ.วินัยทางการเงินฯ