ล้วงลึกสร้างเหตุ "เบอร์มิงแฮม" เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษประกาศล้มละลาย

07 กันยายน 2566
413

ล้วงลึกสร้างเหตุ "เบอร์มิงแฮม" เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษประกาศล้มละลาย ปิดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมด

ล้วงลึกสร้างเหตุ "เบอร์มิงแฮม" เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษประกาศล้มละลาย : กลายเป็นประเด็นร้อนมากจริงๆ หลังจากที่ เบอร์มิงแฮม เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษประกาศล้มละลายเมื่อวันอังคาร ปิดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมด โดยประกาศใช้มาตรา 114 ภายใต้กฎหมายการเงินรัฐบาลท้องถิ่นปี 1989 ส่งผลให้ท้องถิ่นจะไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ในปี 2023 - 2024 ยกเว้นการใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน และภาระผูกพันทางการเงินที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หลังจากได้รับการเรียกร้องค่าชดเชยที่เท่ากันเป็นมูลค่ารวมสูงถึง 760 ล้านปอนด์ หรือ ประมาณ 33,900 ล้านบาท

 

สาเหตุเบอร์มิงแฮมล้มละลาย

 

พร้อมกันนี้มีรายงานถึงสาเหตุ "เบอร์มิงแฮมล้มละลาย" ว่า
- เบอร์มิงแฮม ประกาศล้มละลาย ตามมาตรา 114 ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ในปีนี้ ยกเว้นการใช้จ่ายจำเป็น
- ปัญหา เงินเฟ้อรุนแรง ประกอบกับต้นทุนที่สูงขึ้นในการดูแลทางสังคมสำหรับผู้ใหญ่และอัตรารายได้ที่ลดลงของภาคธุรกิจ ทำให้เกิด “มหาพายุ” ต่อสถานะการคลังของเมือง
- สภาเมืองต้องจ่ายค่าชดเชยมูลค่าสูงเกือบ 34,000 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มลูกจ้างหญิงทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในคดีจ่ายค่าตอบแทนไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ

 


ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียง "ธุรกิจ" เท่านั้นที่ล้ม แต่รัฐบาลท้องถิ่นก็ "ล้มละลาย" ได้เช่นกัน ซึ่ง สภาเมืองเบอร์มิงแฮมของสหราชอาณาจักร แถลงเมื่อวันอังคาร (5 ก.ย.) ว่า ได้ประกาศใช้ "มาตรา 114" ภายใต้กฎหมายการเงินรัฐบาลท้องถิ่น ปี 2532 ที่ส่งผลให้ท้องถิ่นจะไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ในปีนี้ ยกเว้นการใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน และภาระผูกพันทางการเงินที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

 


ขณะที่บริการจากรัฐที่คาดว่าจะถูกปรับลดงบประมาณนั้น รวมไปถึงการทำความสะอาดถนน การดูแลรักษาสวนสาธารณะ ห้องสมุด บริการเกี่ยวกับเด็กที่อยู่นอกเหนือจากการช่วยเหลือทางสังคม และการเก็บขยะที่อาจต้องเว้นรอบเก็บนานขึ้น
 

สาเหตุเบอร์มิงแฮมล้มละลาย

- 2 พรรคการเมืองโยนบาปใส่กัน
บรรดาผู้นำในสภาเมืองเบอร์มิงแฮมซึ่งพรรคแรงงานครองเสียงข้างมาก เรียกร้องให้ใช้ “มาตรการที่จำเป็น” ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายให้กลับมามีรากฐานที่แข็งแกร่งอีกครั้ง พวกเขาระบุว่า ปัญหาคาราคาซังซึ่งรวมไปถึงการเปิดใช้ระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ในหน่วยงานท้องถิ่น ถูกนำไปรวมกับแผนหั่นงบรายจ่าย 1,000 ล้านปอนด์โดยรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมนับตั้งแต่เข้าสู่อำนาจในปี 2553


นอกจากนั้น ปัญหา "เงินเฟ้อรุนแรง" ประกอบกับต้นทุนที่สูงขึ้นในการดูแลทางสังคมสำหรับผู้ใหญ่และอัตรารายได้ที่ลดลงของภาคธุรกิจ ทำให้เกิด "มหาพายุ" ต่อสถานะการคลังของเมืองเบอร์มิงแฮม ซึ่งมีประชากรราว 1.1 ล้านคน


พร้อมกันนี้ สมาชิกสภาเมืองเบอร์มิงแฮมจากพรรคอนุรักษนิยม ตอบโต้ว่า การบริหารจัดการงบประมาณสาธารณะ “ที่ไร้ประสิทธิภาพ” ของพรรคแรงงานต่างหาก ที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้

สาเหตุเบอร์มิงแฮมล้มละลาย

สำหรับสาเหตุหลักที่เบอร์มิงแฮมขาดแคลนเงินทุนมหาศาลนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่สภาเมืองต้องจ่ายค่าชดเชยมูลค่าสูงถึง 760 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 34,000 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มลูกจ้างหญิงทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่รวมตัวยื่นฟ้องในคดีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ

- ยังค้างจ่ายค่าชดเชยอีกกว่า 3 หมื่นล้าน
การจ่ายเงินค่าชดเชยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางกฎหมายกับสหภาพแรงงานที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน

สภาเมืองเบอร์มิงแฮมเปิดเผยในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ได้จ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานหญิงไปแล้ว 1,100 ล้านปอนด์ (เกือบ 50,000 ล้านบาท) แต่ยังเหลือยอดหนี้อีกราว 650-750 ล้านปอนด์ (ราว 28,988-33,448 ล้านบาท) ทำให้มีภาระเพิ่มขึ้นเดือนละ 5-15 ล้านปอนด์ (ราว 178-669 ล้านบาท) ซึ่งสภาเมืองไม่สามารถหาเงินมาชำระได้

 

นอกจากเมืองเบอร์มิงแฮมแล้ว ยังมีสภาท้องถิ่นอีกหลายแห่งในสหราชอาณาจักรที่ประกาศล้มละลายตามมาตรา 114 ตั้งแต่ปีที่แล้ว เช่น โวคกิง ครอยดอน และเทอร์ร็อก หลังจากแผนลงทุนหลายโครงการประสบปัญหาทางการเงิน และเผชิญกับการปรับลดงบประมาณ

สาเหตุเบอร์มิงแฮมล้มละลาย

- ท้องถิ่นส่อขาดแคลนงบ 9 หมื่นล้านปีนี้
สมาคมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสหราชอาณาจักร (LGA) ประเมินว่า ภายในปีงบประมาณนี้ สภาเมืองต่าง ๆ ในอังกฤษและเวลส์จะประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุนเพิ่มเป็น 2,000 ล้านปอนด์ (เกือบ 90,000 ล้านบาท) หรือมากกว่านั้น

 

สัปดาห์ที่แล้ว กลุ่ม SIGOMA ซึ่งมีสภาท้องถิ่น 47 แห่งภายใต้สมาคม LGA ร่วมเป็นสมาชิก เตือนว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกกลุ่ม มีความเสี่ยงที่จะต้องยื่นเรื่องตามกฎหมายเพื่อประกาศว่าไม่สามารถหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายได้อีกต่อไป

 


อย่างไรก็ตาม ด้าน สตีเฟน โฮตัน ประธาน SIGOMA กล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษจำเป็นต้องตระหนักถึงแรงกดดันเงินเฟ้ออันหนักหน่วง ที่ทางการท้องถิ่นต้องรับมือมาตลอด 12 เดือนหลังสุด

 

"ตอนนี้ระบบจัดสรรงบประมาณล่มสลายโดยสมบูรณ์ สภาท้องถิ่นต่าง ๆ ทำงานมาได้ถึง 13 ปีก็ถือว่าปาฏิหาริย์แล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรเลยอยู่ดี" โฮตันระบุ

สาเหตุเบอร์มิงแฮมล้มละลาย

ข้อมูลอ้างอิงจาก AFP, Financial Times