เผยนโยบายรัฐบาล 'เพื่อไทย' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

06 สิงหาคม 2566
24

ในขณะที่กระเเสการเมืองในปัจจุบันร้อนระอุเป็นอย่างมาก ซึ่งนโยบายฐบาล 'เพื่อไทย' ที่ได้รับความสนใจต่อชาวเมืองกรุงเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ ประกาศลั่นเดินหน้าลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท จะเกิดขึ้นจริงหรือขายฝัน

เผยนโยบายรัฐบาล 'เพื่อไทย' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

เผยนโยบายรัฐบาล \'เพื่อไทย\' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

เพื่อไทย” จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เป็นหนึ่งในรายชื่อที่จะถูกนำเสนอโหวต “นายกรัฐมนตรี”

เศรษฐา ทวีสิน

สำหรับหนึ่งในนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้กับประชาชน และเรียกเสียงฮือฮาว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เห็นจะเป็นนโยบายลดค่าครองชีพประชาชน ในภาคขนส่งสาธารณะ “รถไฟฟ้า” โดยก่อนหน้านี้ “เศรษฐา ทวีสิน” เคยออกมาโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุถึงแนวคิดที่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ให้เหลือ 20 บาทตลอดสายว่า หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะเร่งเจรจากับทุกภาคส่วนเพื่อลดค่าโดยสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้

ทั้งนี้ปัจจุบันค่าบริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต่อเที่ยวคิดเป็น 11% ของค่าแรง หากคำนวณราคาไป-กลับ อยู่ที่ 22% ถือว่าแพงมากเทียบกับอัตราส่วน 1.5% ของค่าแรงที่เกาหลีใต้ , 2.9% ที่ญี่ปุ่น หรือ 3.5% ที่สิงคโปร์ โดยประเทศเหล่านั้นการขึ้นรถไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน นอกจากนั้นอัตราค่าโดยสารที่แพงกว่าคนอื่นนี้ถูกซ้ำเติมโดยสภาวะเงินเฟ้อและวิกฤตโควิดในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาอีก

เผยนโยบายรัฐบาล \'เพื่อไทย\' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ออกมาวิเคราะห์ถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทยกับการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยกรมฯ เชื่อว่าทุกอย่างสามารถทำได้จริง หากแต่รัฐบาลจำเป็นต้องมีเงื่อนไขกำหนดการจัดทำราคาค่าโดยสารดังกล่าวเฉพาะกลุ่มผู้เดินทาง เนื่องจากรัฐบาลจะต้องทำเงินงบประมาณไปสนับสนุนส่วนต่างให้กับภาคเอกชนคู่สัญญา ตามสัมปทานกำหนดไว้

ดังนั้นหากไม่ได้มีการจำกัดกลุ่มจะส่งผลให้รัฐต้องจัดเตรียมงบประมาณจำนวนมากเพื่อชดเชยให้กับเอกชนเพื่อไม่ผิดต่อเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้กรมการขนส่งทางรางยังคงสนับสนุนให้รัฐบาลผลักดัน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง เพื่อเป็นการกำหนดโครงสร้างราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคาดว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีการหยิบยกมาพิจารณาอีกครั้งในรัฐบาลใหม่นี้

สำหรับปัจจุบันการพัฒนาระบบรางเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เป็นขนส่งหลักโดยเฉพาะการเดินทางของประชาชน จึงจะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้เป็นหัวหอกในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ยังอยู่ระหว่างศึกษาขยายโครงการลงทุนไปยังหัวเมืองในทุกภูมิภาคอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ารถไฟฟ้ายังเป็นทางเลือกการเดินทางของประชาชนเพียงบางกลุ่ม เนื่องจากราคาค่าโดยสารที่สูง จนกลายเป็นภาระค่าครองชีพ ทำให้ขณะนี้ยังคงเห็นภาพผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มพนักงานประจำที่มีออฟฟิศอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า ขณะที่ประชาชนบางกลุ่มยังคงเลือกใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) และรถยนต์ส่วนตัว

โดยปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีราคากำหนดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสัมปทานที่มีข้อตกลงไว้ระหว่างรัฐและเอกชนคู่สัญญา ประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) แบ่งอัตราค่าโดยสารออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-47 บาท
  • ส่วนต่อขยายที่1 ช่วงสะพานตากสิน – วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง ค่าโดยสารอยู่ที่ 14-44 บาท
  • ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เดิมจะเก็บค่าโดยสาร 14-44 บาท แต่ปัจจุบันยังไม่เริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
  • ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-43 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาท
  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
  • ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท
  • รถไฟชานเมืองสายสีแดง
  • ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่าโดยสารอยู่ที่ 12 – 42 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง
  • ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ค่าโดยสารอยู่ที่ 16 บาทตลอดสาย
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
  • ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการในอนาคต ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมเคยออกมาประมาณการณ์เพดานราคาคาดจะจัดเก็บ ซึ่งคำนวณจากดัชนีผู้บริโภค (CPI) แบ่งเป็น

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู
  • ช่วงแคราย – มีนบุรี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม
  • ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท

ทั้งนี้ จากอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ยังเคยมีการเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าในประเทศอาเซียน โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ชี้ว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพงกว่าที่สิงคโปร์ถึง 20% อีกทั้งยังสวนทางกับรายได้ประชากร เป็นเพราะโครงการต่างๆ มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่าง บางโครงการรัฐสนับสนุนงานโยธา และบางโครงการรัฐไม่ได้สนับสนุน ทำให้สัมปทานมีความแตกต่างกันออกไป และปัญหาที่ทำให้ค่าโดยสารแพงเกินเอื้อม คือการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน