พายุไต้ฝุ่นทำพิษ ปักกิ่งรีบกู้ภัย สภาพหลังฝนตกหนักสุดใน 140 ปี เกินจะบรรยาย
ไต้ฝุ่นทกซูรี พ่นพิษแรง ปักกิ่งเร่งกู้ภัย หลังฝนตกหนักสุดใน 140 ปี เป็นสถิติสูงสุดนับจากปี 2434 สภาพหลังอุทกภัยเกินจะบรรยาย
พายุไต้ฝุ่นทำพิษ ปักกิ่งรีบกู้ภัย สภาพหลังฝนตกหนักสุดใน 140 ปี เกินจะบรรยาย : หลังจากที่สภาพอาการอันเลวร้ายของจีน ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักหน่วง ซึ่งไม่นานมานี้ ทางการกรุงปักกิ่งของจีนเร่งปฏิบัติการกู้ภัยและบรรเทาทุกข์ รวมถึงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย หลัง พายุไต้ฝุ่นทกซูรี ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง 5 วัน วัดปริมาณฝนได้มากที่สุดในรอบ 140 ปี
ด้านสำนักงานอุตุนิยมวิทยาปักกิ่ง เปิดเผยว่า วัดปริมาณฝนตกสะสมได้ 744.8 มิลลิเมตรที่อ่างเก็บน้ำหวังเจียหยวน ในเขตฉางผิง ระหว่างคืนวันเสาร์ถึงเช้าวันพุธ (26 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม) ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดนับจากปี 2434
ทั้งนี้อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นทกซูรี กำลังสร้างความเสียหายในหลายมณฑลทางภาคเหนือ รวมถึงกรุงปักกิ่ง หลังจากพายุพัดขึ้นฝั่งครั้งแรกที่มณฑลฝูเจี้ยนในภาคใต้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม
พื้นที่ประสบภัยในกรุงปักกิ่งที่มีน้ำท่วมสูงทำให้ประชาชนกำลังขาดแคลนอาหารและสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าไปแจกจ่ายสิ่งของ ซึ่งรวมถึง อาหาร น้ำและยาในหลายพื้นที่ รวมถึง เขตฉางผิง, เขตฟางซาน และเขตเหมินโถวโกว ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำงานตลอดทั้งวันเพื่ออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัย
นอกจากนี้ทหารจีนยังสามารถเคลียร์เศษซากความเสียหายหายที่กีดขวางถนนสายหนึ่งในเขตเหมินโถวโกว และคนงานเร่งระบายน้ำท่วม ซ่อมแซมระบบประปาและไฟฟ้าในเขตฟางซาน ที่ได้รับความเสียหายหลังฝนตกหนัก
ส่วนสนามบินปักกิ่ง ต้าซิง สนามบินแห่งใหม่ของปักกิ่ง สามารถกลับมาให้บริการได้แล้วในวันพุธ หลังจากน้ำท่วมลานบิน ทำให้เที่ยวบินถูกยกเลิก ล่าช้า หรือ เปลี่ยนเส้นทาง
ขณะที่ทางการปักกิ่งยกเลิกระดับเตือนภัยฝนตกหนักระดับสีแดงที่เป็นระดับสูงสุดในเช้าวันพุธแล้ว เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญลดลงต่ำกว่าระดับเสี่ยงอันตรายแล้ว หลังจากเริ่มยกระดับเตือนภัยเป็นสีแดงตั้งแต่วันจันทร์
อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ในบางพื้นที่ที่น้ำท่วมลดลงแล้ว ประชาชนเริ่มเก็บกวาดดินโคลนและเศษซากความเสียหาย และชาวบ้านบางส่วนพากันยืนดูบนสะพานแห่งหนึ่งเมื่อเห็นสภาพขยะกองมหึมาลอยตามกระแสน้ำในแม่น้ำที่เอ่อล้นท่วมพื้นที่ใกล้เคียง ที่ทำให้เสาส่งไฟฟ้าแรงสูงจมอยู่ใต้น้ำ
ภาพจาก XINHUA