วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ "ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด" สงสัย "ซี่หวี" เป็นเหตุ

30 มิถุนายน 2566
429

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สภาวิศวกร แถลงชี้แจงกรณีอุบัติเหตุบนทางเลื่อนดูดผู้โดยสารขาขาด ที่สนามบินดอนเมือง

  เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.66 ที่ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคาร สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) นางสาวบุษกร อสนสุข เลขาธิการวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมแถลงข่าวกรณี ทางเดินเลื่อน walk way ภายในสนามบินดอนเมืองชำรุดและยุบตัวลงจนเป็นเหตุให้มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 วสท.  

วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ

  จากกรณีที่เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 66 เวลาประมาณ 08.30 น ที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (walk way) ภายในอาคารผู้โดยสารภายในประเทศขาเข้า บริเวณ Pier 4 ภายในสนามบินดอนเมืองยุบตัวลง ในขณะที่มีผู้โดยสารที่กำลังใช้งานอยู่ล้มลง และขาถูกดูดเข้าไปในทางเลื่อนจนถึงหัวเข่าได้รับบาดเจ็บ 

วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ

   จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนและผู้ทราบเหตุการณ์มีข้อสงสัย เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ใน เรื่องมาตรฐาน และความปลอดภัยในการใช้งานทางเลื่อนอัตโนมัติ และบันไดเลื่อนในปัจจุบัน เป็นเหตุให้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และสภาวิศวกร ส่งผู้แทนเข้าไปสำรวจตรวจสอบในเบื้องต้น เพื่อให้ได้ทราบ ถึงสภาพปัญหา จะนำมาซึ่งแนวทางการแก้ไข และการใช้งานที่ปลอดภัยต่อไป

วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ  

นาวบุษกร เลขาฯ วสท.  กล่าวว่า จากเหตุการที่เกิดขึ้นตนขอ แสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากได้ทาบเรื่องตนพร้อมด้วย สภาวิศวกรรมได้ลงพื้นที่ตรวจสอบทางเลื่อนอัตโนมัติดังกล่าวเมื่อเช้าที่ผ่านมา โดยเบื้องต้น ได้ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ และส่วนประกอบของทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ ตรวจสอบการบำรุงรักษา และได้รวบรวมข้อมูลจากการตรวจสอบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสนามบินฯเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้โดยสารผู้เข้ามาใช้งานทางเดินเลื่อนอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานต่อไป  

  วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ

ด้านนายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วสท. กล่าวว่า จากการสำรวจเบื้องต้นในสถานที่เกิดเหตุ หลังเกิดอุบัติเหตุพบว่ามีการแตกหักของแผ่นหวี และมีบาง ชิ้นส่วนของหวี แตกหักลักษณะคล้ายเป็นรูปโค้งของวงกลม ซึ่งอาจจะเกิดจากการขัดกันระหว่างวัสดุสองชนิด ในช่วงที่เกิดเหตุนั้นโดยพบว่าแผ่นพื้นทางเลื่อนที่หลุดยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และหล่นอยู่ท้องของกล่องทางเลื่อนอัตโนมัติเป็น ระยะประมาณ 10 เมตรจากจุดเกิดเหตุ ลักษณะแผ่นพื้นหลุดดังกล่าว บ่งชี้ว่าน็อตที่ล็อคแผ่นพื้นกับรางเลื่อนขาด โดยทางเดินเลื่อนที่เกิดการชำรุดดังกล่าวมีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี

วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ

   ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ อุปกรณ์ของทางเดินเลื่อนอย่างสม่ำเสมอ โดยทางท่าอากาศยานดอนเมืองมีการตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอ และอุปกรณ์ของทางเดินเลื่อนดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ซึ่งท่าอากาศยานดอนเมืองจะจัดให้มีการซ่อมบำรุง และตรวจสภาพทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ และ บันไดเลื่อนภายในท่าอากาศยานครั้งใหญ่ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และผู้ใช้งาน ในอีก 2 ปีข้างหน้า จากข้อมูลของการบำรุงรักษา ซึ่งผู้ทำการตรวจความปลอดภัย (QA) ของระบบบันไดเลื่อนทั้งหมด รวมถึงทาง เลื่อนอัตโนมัติได้รับรองความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ไว้แล้ว นอกจากนี้ในการใช้งาน เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาจะต้อง ตรวจสอบการทำงานของระบบก่อนการเปิดใช้งานทุกวัน จึงไม่เป็นเหตุให้ระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อน อัตโนมัติมีการทํางานที่ผิดปกติ ดังนั้นการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว

 

จึงสันนิษฐานเป็นลำดับได้ว่าอาจเกิดจากการที่มีวัสดุตกหล่นไปขัดอยู่บริเวณ ปลายหวี และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ล้อกระเป๋าเดินทางไปติดอยู่ที่ปลายหวีนั้นด้วย เมื่อล้อของกระเป๋าเดินทางไม่ สามารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ จึงเกิดการขัดตัวจนกระทั่งปลายหวีแตกหักและหลุดเข้าไปในระบบทางเลื่อน อัตโนมัติ เป็นเหตุให้ไปโดนแผ่นพื้นทางเลื่อน เกิดการกระตุกจนน็อตที่ล็อกแผ่นพื้นกับรางเลื่อนขาด ทำให้มี ช่องว่างกว้างเพียงพอที่จะทำให้ขาของผู้บาดเจ็บที่กำลังก้าว หล่นลงไปในช่องว่าง ในขณะที่ทางเลื่อนยังทำงาน ตามปกติ จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บดังที่ปรากฏตามข่าว 

 

วิศวกรรมสถานฯ เผยผลตรวจ ทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาขาด สงสัยซี่หวีเป็นเหตุ

นายบุญพงษ์ ยังได้อธิบายหลักการทํางานและความแตกต่างของทางเลื่อนอัตโนมัติและบันไดเลื่อน ซึ่งหลักการทำงานและอุปกรณ์ของบันไดเลื่อน และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนสองเรื่อง คือ มุมที่วัดจาก แนวระนาบสำหรับทางเลื่อนอัตโนมัติจะไม่เกิน 11 องศา เพื่อให้แผ่นพื้นเรียบ

หากมุมจากแนวระนาบเกินกว่า นี้ จะต้องทำแผ่นพื้นให้เป็นขั้นบันไดเลื่อน และข้อแตกต่างของการรับน้ำหนัก ซึ่งทางเลื่อนอัตโนมัติ 1 แผ่นพื้น สามารถรับนํ้าหนักได้ 160 กิโลกรัม ขณะที่บันไดเลื่อนจะออกแบบให้รับน้ำหนักที่ 75 กิโลกรัมต่อคน น้ำหนัก ที่ใช้ในการออกแบบดังกล่าวมีความสำคัญในการออกแบบอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของทั้งระบบบันไดเลื่อน และทางเลื่อนอัตโนมัติ  

 

ทั้งนี้ มีความจำเป็นจะต้องทำการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะ เช่นนี้อีก และเพื่อหามาตรการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนผู้ใช้งานต่อไป