ธ.ก.ส. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย
ธ.ก.ส. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ธ.ก.ส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก สูงสุดร้อยละ 0.50 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทร้อยละ 0.01 – 0.25 ต่อปี ตามมติ กนง.
ธ.ก.ส. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ธ.ก.ส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก สูงสุดร้อยละ 0.50 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทร้อยละ 0.01 – 0.25 ต่อปี ตามมติ กนง. เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ร้อยละ 0.25 ต่อปีจากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาด โดยมีผลตั้งแต่6มิ.ย. 66 เป็นต้นไป
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของตลาด ธ.ก.ส. จึงได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ร้อยละ 0.05 - 0.50ต่อปีเพื่อส่งเสริมการออมและเพิ่มผลตอบแทนให้สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs)
ขณะเดียวกันได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ร้อยละ 0.10 – 0.25 ต่อปีประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายคนชั้นดี (MRR) จากร้อยละ 6.875 ปรับขึ้น 0.10% เป็นร้อยละ 6.975 ต่อปีอัตราดอกเบี้ยลูกค้าสถาบันและนิติบุคคลชั้นดี(MLR)จากร้อยละ 5.375 ปรับขึ้น 0.250 % เป็นร้อยละ 5.625 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยประเภทเงินเบิกเกินบัญชี(MOR) จากร้อยละ 6.750 ปรับขึ้น 0.125 % เป็นร้อยละ 6.875ต่อปีโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน2566 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมมาตรการดูแล และแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และสนับสนุนการฟื้นตัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาตรการฟื้นฟูอาชีพ มาตรการจ่ายดอกตัดต้น และมาตรการจ่ายต้นปรับงวด การให้คำปรึกษาด้านการจัดการหนี้ทั้งในและนอกระบบ การสนับสนุนให้ลูกค้าบริหารจัดการหนี้ผ่านแนวทางมีน้อยจ่ายน้อย มีมากจ่ายมาก
พร้อมสร้างแรงจูงใจโดยคืนหรือลดอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้ที่ชำระหนี้ควบคู่กับการเติมทุนผ่านสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและการลงทุน เช่น สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 สินเชื่อ SME เสริมแกร่ง และสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 และสินเชื่อ Green Credit อัตราดอกเบี้ย MLR/MRR เป็นต้น