ปิดฉาก"ตึกหุ่นยนต์" Robot Building แลนด์มาร์คระดับโลกบนถนนสาทร
เตรียมปิดฉาก"ตึกหุ่นยนต์"Robot Building อีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญอันโดดเด่นบนถนนสาทร ทาง UOB เตรียมรีโนเวทเป็นตึกกระจกล้ วน
เตรียมปิดฉาก"ตึกหุ่นยนต์"แลนด์มาร์คสำคัญอันโดดเด่นคุ้นตาบนถนนสาทร โดยตึกหุ่นยนต์หรือ Robot Building กำลังจะถูกรื้อทิ้ง (ไม่ได้ทุบทิ้งทั้งหมด) มีการรีโนเวทให้เป็นตึกกระจกล้วนตามยุคสมัยใหม่ ไม่หลงเหลือเค้าโครงความเป็นตึกหุ่นยนต์อีกแล้ว อาจเรียกได้ว่าถึงคราวอวสานอาคารหุ่นยนด์ สถาปัตยกรรมยุคPost Modern
โดยล่าสุดทางเพจ ที่ซุกหัวนอน มีรายงานอัปเดตว่า น้องตึกหุ่นยนต์จะไม่อยู่กับเราแล้ว มีการ รีโนเวท"ตึกหุ่นยนต์"
ทาง UOB กำลัง renovate facade เป็นตึกกระจกล้วน (น่าจะลักษณะเดียวกันกับ UOB Headquarters ที่พร้อมพงษ์ ครับ)
ใจหายเหมือนกันกับ ตึก "modern" ที่เป็น landmark ระดับโลกของ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยาที่จะไม่มีอีกแล้วครับ (แต่ซึ่งทาง UOB Singapore ก็แจ้งคุณสุเมธไว้นะครับ ว่าจะทำ model จำลองตั้งไว้ให้ที่ lobby )
สำหรับ ตึกหุ่นยนต์ สัญลักษณ์อันโดดเด่นบนถนนสาทร มีทาง ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบตึกหุ่นยนต์
ประวัติตึกหุ่นยนต์ (Robot Building)
แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารเอเซีย แต่ภายหลังถูกขายต่อ และเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548–2565 มีความสูง 20 ชั้น ตั้งอยู่ที่ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ตึกก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ใช้งบประมาณก่อสร้างราวๆ 300ล้านบาท
ซึ่งผู้บริหารธนาคารเอเซียในขณะนั้นต้องการอาคารที่สื่อออกถึงยุคสมัยใหม่และโลกแห่งคอมพิวเตอร์ของธนาคาร โดย ดร. สุเมธ ได้แรงบันดาลใจมาจากของเล่นของบุตรชาย
ตึกหุ่นยนต์แลนด์มาร์คระดับโลกของไทย
ตึกหุ่นยนต์ได้รับเลือกจากพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย นครลอสแอนเจลิส ให้เป็นหนึ่งใน 50 อาคารที่สมบูรณ์แห่งศตวรรษ อาคารยังส่งผลให้ ดร.สุเมธ กลายเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลจากบัณฑิตยสภาสถาปัตยกรรมและการออกแบบแห่งชิคาโก (Athenaeum Museum of Architecture and Design)
ทั้งนี้เกี่ยวกับการ ปิดฉากตึกหุ่นยนต์ ทาง ดร.สุเมธ ได้เปิดใจล่าสุดในรายการ suthichai live เมื่อวันที่ 19 เม.ย.66 กับประเด็นตึกหุ่นยนต์ กรุงเทพฯ กำลังจะถูกรื้อทิ้ง โดย ดร.สุเมธ ได้เขียนจดหมายส่งถึงธนาคารยูโอบีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ เพื่อขอให้ทบทวนการรีโนเวทใหม่ โดยเฉพาะการรื้อภายนอกตึกหุ่นยนต์ จนอาจเสียเค้าโครงงานออกแบบเดิม
ดร.สุเมธ เล่าว่า"ผมติดต่อไป เขาบอกว่า เขาก็ภูมิใจตึกนี้เหมือนกัน และจะสร้างตึกหุ่นยนต์เล็กๆ วางตั้งโชว์ที่ล็อบบี้ข้างล่าง ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า add salt to injury เจ็บใจอยู่แล้ว ยังมาทำให้เจ็บแสบอีก
ด้านทางDocomomo Thai โดย “ปองขวัญ ลาซูส” ในนามของประธานกลุ่ม ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารธนาคาร UOB ประเทศไทย เรื่อง ขอความอนุเคราะห์พิจารณาเปลี่ยนเเปลงแบบปรับปรุงภายนอกอาคาร Robot Building ถนนสาทร เพื่อขอให้ระงับการเปลี่ยนแปลงภายนอกตึก อย่างไรก็ตามล่าสุดการรีโนเวทตึกหุ่นยนต์ยังคงดำเนินต่อไป
cr. Docomomo Thai / ที่ซุกหัวนอน