เนชั่นวิเคราะห์ เลือกตั้ง400เขต เพื่อไทย 194ที่นั่ง แลนด์สไลด์ อีสาน-เหนือ
เปิดผลตัวเลข "เนชั่นวิเคราะห์" เจาะสนามเลือกตั้ง 400 เขต ทั่วประเทศ ครั้งที่ 1 "เพื่อไทย"ยังมาแรง กวาด 194 ที่นั่ง แลนด์สไลด์ อีสาน-เหนือ ,ภูมิใจไทย ได้58 ที่นั่ง
21เม.ย.66 เมื่อเวลา 17.30น. "เนชั่นวิเคราะห์" เจาะสนามเลือกตั้ง 400 เขต ทั่วประเทศ ได้ข้อมูลตัวเลขที่นั่งส.ส. 400 เขตทั่วไทยครั้งที่1 เผยแพร่ผ่านรายการ nation insight ทางช่อง Nation TV 22
"เนชั่นวิเคราะห์"เครือเนชั่น จัดทำการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง โดยมอบหมายให้ผู้สื่อข่าว ระดับภูมิภาคทั้ง 77 จังหวัด รวบรวมข้อมูลแนวโน้มผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 ที่กำลังจะถึง ทั้ง 400 เขตเลือกตั้ง ประเมินฐานเสียงบ้านใหญ่ บ้านใหม่ เพื่อประเมินภาพรวมของแต่ละพรรคการเมือง โดยกองบรรณาธิการระดับภูมิภาค เป็นฝ่ายรวบรวมข้อมูล ก่อนจะส่งให้กองบรรณาธิการส่วนกลางร่วมประเมินแนวโน้มของผลการเลือกตั้ง เป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด ซึ่งมีผลสรุปดังนี้
ภาพรวมทั้งประเทศ ( ส.ส.400 ที่นั่ง)
-พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนะ 194 ที่นั่ง ช่วงชิง 84 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 54 ที่นั่ง ช่วงชิง 24 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 21 ที่นั่ง ช่วงชิง 22 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 26 ที่นั่ง ช่วงชิง 38 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 58 ที่นั่ง ช่วงชิง 44 ที่นั่ง
-พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 25 ที่นั่ง ช่วงชิง 22 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนามีแนวโน้มชนะ 9 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง พรรคประชาชาติมีแนวโน้มชนะ 6 ที่นั่ง ช่วงชิง 4 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนากล้ามีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคไทยสร้างไทยมีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 4 ที่นั่ง
แนวโน้มผลการเลือกตั้ง66 รายภาค
ภาคกลาง/ตะวันตก (77 ที่นั่ง)
-พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนะ 30 ที่นั่ง ช่วงชิง 32 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง ช่วงชิง 5 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 5 ที่นั่ง ช่วงชิง 5 ที่นั่ง
-พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 7 ที่นั่ง ช่วงชิง 9 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 19 ที่นั่ง ช่วงชิง 9 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนามีแนวโน้มชนะ 8 ที่นั่ง ช่วงชิง 1 ที่นั่ง
ภาคตะวันออก (29 ที่นั่ง)
พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนะ 11 ที่นั่ง ช่วงชิง 6 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 6 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง
ภาคเหนือ (68 ที่นั่ง)
พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนt 39 ที่นั่ง ช่วงชิง 9 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 11 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 6 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง ช่วงชิง 1 ที่นั่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (133 ที่นั่ง)
พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนะ 100 ที่นั่ง ช่วงชิง 27 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 1 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ช่วงชิง 5 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 3 ที่นั่ง ช่วงชิง 15 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 22 ที่นั่ง ช่วงชิง 24 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 7 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนามีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนากล้ามีแนวโน้มชนะ 4 ที่นั่ง พรรคไทยสร้างไทยมีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง
ภาคใต้ (60 ที่นั่ง)
พรรคเพื่อไทย ช่วงชิง 1 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 37 ที่นั่ง ช่วงชิง 14 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 8 ที่นั่ง ช่วงชิง 6 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 7 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มชนะ 8 ที่นั่ง ช่วงชิง 7 ที่นั่ง พรรคประชาชาติมีแนวโน้มชนะ 6 ที่นั่ง ช่วงชิง 4 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนากล้า ช่วงชิง 2 ที่นั่ง
พื้นที่เลือกตั้ง กทม. (33 ที่นั่ง)
พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มชนะ 14 ที่นั่ง ช่วงชิง 9 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์มีแนวโน้มชนะ 5 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีแนวโน้มชนะ 1 ที่นั่ง ช่วงชิง 3 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐมีแนวโน้มชนะ 1 ช่วงชิง 1 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลมีแนวโน้มชนะ 10 ที่นั่ง ช่วงชิง 9 ที่นั่ง พรรคไทยสร้างไทยมีแนวโน้มชนะ 2 ที่นั่ง ช่วงชิง 2 ที่นั่ง