งานเข้า กองสลากพลัส สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง "CEOนอท" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน

27 ธันวาคม 2565
3.0 k

งานเข้า"กองสลากพลัส" กรมสรรพากรลุยสอบภาษี หลัง "นอท กองสลากพลัส" โพสต์อวดยอดขายปีนี้ ทะลุ 1.8 หมื่นล้านบาท ระบุชัดต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%


   กรณี "กองสลากพลัส" หรือ  บริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด หรือ ประกาศเป็นผู้สนับสนุนหลัก ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 2022  “ AFF Mitsubishi Electric Cup 2022” ด้วยจำนวนเงิน67ล้านบาท  เพื่อให้แฟนบอลชาวไทยได้รับชมแมตช์การแข่งขันของ ทัพช้างศึก ได้อย่างทั่วถึง โดยเริ่มถ่ายทอดสดทีมชาติไทย นัดแรก ไปเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2565  ในเกมที่ ทีมชาติไทย เอาชนะ ทีมชาติฟิลิปปินส์ ไป4-0  รวมถึงการแข่งขันทุกคู่ ทุกกลุ่ม จนถึงรอบชิงชนะเลิศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 แมตช์
 


    อย่างไรก็ตามได้เป็นที่จับตาและเกิดการตั้งข้อสังเกตว่า การที่"กองสลากพลัส"เพิ่งทุ่ม 67ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 2022 ทั้งที่มีผลประกอบการธุรกิจลอตเตอรี่ออนไลน์  ของ บริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด เมื่อปี 64 มีกำไรเพียง 9.3 ล้านบาทเท่านั้น  โดย บริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด เป็นบริษัทที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ซึ่งมีอายุเพียงแค่ 2 ปี  ขณะที่ทุนจดทะเบียนมีจำนวนแค่ 5 ล้านบาท 

งานเข้า กองสลากพลัส  สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง \"CEOนอท\" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน

 ทั้งนี้ ทางเฟซบุ๊ค "นอท”พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์  ซีอีโอ กองสลากพลัส ได้แชร์โพสต์ข่าวของ ทาง เนชั่นออนไลน์  ที่มีพาดหัวว่า สุดทึ่ง! "นอท กองสลากพลัส" ทำธุรกิจกำไร 9 ล้าน แต่ทุ่ม 67 ล้านถ่ายสดบอลอาเซียน  

งานเข้า กองสลากพลัส  สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง \"CEOนอท\" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน

 พร้อมกันนี้ นอท กองสลากพลัส ได้โพสต์ข้อความรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ...

งานเข้า กองสลากพลัส  สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง \"CEOนอท\" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน


กำไร 9 ล้านคือปีที่แล้วครับ มันผ่านมาปีนึงแล้ว คนเราก็ต้องเติบโตปะ
ปีที่แล้วยอดขาย 1,000 ล้าน


ปีนี้ยอดขาย 18,000 ล้าน
อยากให้เนชั่นคำนวนเล่นๆ ดูครับ ส่วนเรื่องขายซ้ำหรือไม่ เชิญมานับสลาดที่ออฟฟิศได้ตลอดเวลาครับ

งานเข้า กองสลากพลัส  สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง \"CEOนอท\" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน

   ความคืบหน้าล่าสุด แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมสรรพากร เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การที่กองสลากพลัสระบุว่ามียอดขาย 18,000 ล้านบาทนั้น ตามหลักการการทำธุรกิจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัทจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการอัตรา 7% ทุกเดือน และต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ อัตรา 20% ณ วันสิ้นรอบบัญชี ซึ่งกรมสรรพากรกำลังตรวจสอบความถูกต้องในการจ่ายภาษีอยู่

 

   ก่อนหน้านี้กรมสรรพากรเคยมีหนังสือตอบข้อหารือภาษีเลขที่  กค 0706/1807 เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินได้จากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ประกอบกิจการค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากพิเศษ และสลากทุกประเภทที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพิมพ์ออกจำหน่าย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือจัดทำงบการเงินและปิดงบการเงินหรือไม่

 

กรมสรรพากรได้วินิจฉัยแล้วเห็นว่า กรณีห้างฯ ประกอบกิจการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากพิเศษ และสลากทุกประเภทที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำหน่าย แยกพิจารณาได้ดังนี้

 

กรณีการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ห้างฯ มีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับจากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยห้างฯ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ตามมาตรา 67 ทวิ และมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร

งานเข้า กองสลากพลัส  สรรพากรลุยสอบภาษี หลัง \"CEOนอท\" โชว์ยอดขาย 1.8 หมื่นล้าน

นายพันธ์ธวัช เคยออกมาชี้แจงกรณีนายสันธนะ ประยูร์รัตน์กล่าวหาว่าบริษัทลอตเตอรี่ออนไลน์เลี่ยงภาษี ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT กับลูกค้า โดยยืนยันว่าบริษัทไม่ได้เลี่ยงภาษีตามที่กล่าวอ้าง และได้ชำระภาษีย้อนหลังพร้อมจ่ายเบี้ยปรับรวมทั้งหมด 190 ล้านบาท

 

สำหรับบริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด เป็นบริษัทที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ซึ่งมีอายุเพียงแค่ 2 ปี ทุนจดทะเบียนมีจำนวน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 119,053,375 บาท หนี้สินรวม 104,821,444 บาท

 

ขณะที่ผลประกอบการในปี 2564 บริษัทมีรายได้รวม 1,193 ล้านบาท รายจ่ายรวม 1,181 ล้านบาท เมื่อหักภาษีเงินได้ 2,440,731 บาท ทำให้มีกำไร 9,369,116 บาท 

 

ส่วนผู้ถือหุ้นของ บริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด มีจำนวน 4 ราย รวม 50,000 หุ้น แยกเป็น บริษัท เซเว่นไอเดีย จำกัด ถือหุ้นสูงสุด 47,000 หุ้น รองลงมาคือ นายจตุภัทร บุญสุวรรณ์ ถือหุ้น 1,500 หุ้น นายชัชวงศ์ ธรรมราภา ถือหุ้น 1,000 หุ้น และ นายศุภชัย ทิพย์สิทธิ์ ถือหุ้น 500 หุ้น

cr.thansettakij