thainewsonline

โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA

24 ธันวาคม 2565
โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA

ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูล โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลมากที่สุด คาดหลบภูมิคุ้มกันวัคซีน mRNA

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทางเพจ Center for Medical Genomics ถึงเรื่อง โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ "น่ากังวลมากที่สุด" ในปัจจุบันคือโอมิครอนลูกผสม “XBB.1.5” >>>ตอนที่ 2<<<

ศ. นพ. เดวิด โฮ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ แอรอน ไดมอนด์ (Aaron Diamond AIDS Research Center, ADARC) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และทีมวิจัยแสดงให้เห็นว่า

- โอมิครอน BQ.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอมิครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 24 เท่า

- BQ.1.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19 ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 44 เท่า

- XBB สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอมิครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 90 เท่า

- XBB.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันอันเกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีกว่าไวรัสโควิด-19ดั้งเดิม(อู่ฮั่น)ประมาณ 104 เท่า

โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA

 

และที่น่าสนใจคือภูมิคุ้มกันที่ดีมีประสิทธิภาพในการป้องกันโอมิครอนสูงสุดในขณะนี้คือภูมิคุ้มกันลูกผสมที่ได้จากการฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ

ยังไม่มีข้อมูลการนำโอมิครอน XBB.1.5 มาทดสอบกับซีรัมคนไข้ แต่จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า XBB.1.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1 ถึง 105% ทำให้คาดได้ว่าโอมิครอน XBB.1.5 น่าหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันอันเกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA ร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้

 

โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA

อาศัยการคำนวณจากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไปของโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ พบว่าสัดส่วนค่าการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (แกนตั้ง) เทียบกับค่าการจับกับปุ่ม ACE-2 receptor บนผิวเซลล์ (แกนนอน) สูงที่สุดในปัจจุบัน บ่งชี้ว่าโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ XBB.1.15 น่าจะมีอัตราการแพร่ระบาดสูงสุดในปัจจุบัน

โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA โอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล คาดหลบภูมิจากวัคซีน mRNA

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยต้องเร่งพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสรุ่นใหม่ที่ board-spectrum คือสามารถต่อต้านหรือยับยั้งโอมิครอนสายพันธุ์ในปัจจุบันและที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตได้

 

สำหรับยาต้านไวรัสในประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคติดเชื้อจากทั่วประเทศมาร่วมกันกำหนดแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาล เป็นแนวทาง (guideline) ให้กับแพทย์ทั่วประเทศประกอบการตัดสินใจในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาไทยและยาต่างประเทศ ทั้งในเด็กเล็ก เด็กโต ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ ทั้งยาเม็ดต้านไวรัส และยาฉีด โดยมีแนวทางการเลือกใช้ตั้งแต่ ยาฟ้าทะลายโจร, ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir), ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid: nirmatrelvir/ritonavir), ยาเรมเดซิเวียร์ (remdesivir), ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 (tixagevimab/cilgavimab (LAAB), และ ยาแก้อักเสบ (corticosteroid) (คลิกอ่านเพิ่มเติม)

หมายเหตุ

พบ XBB.1.5 ในสหรัฐอเมริกา
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 1,275 ตัวอย่าง
ความชุก 0.199%

ประเทศเดนมาร์ก
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 17 ตัวอย่าง
ความชุก 0.019%

ประเทศอังกฤษ
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 12 ตัวอย่าง
ความชุก 0.008%

ประเทศแคนาดา
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 12 ตัวอย่าง
ความชุก 0.014%

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 6 ตัวอย่าง
ความชุก 0.047%

ประเทศเนเธอร์แลนด์
พบในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 6 ตัวอย่าง
ความชุก 0.025%
ฯลฯ

ยังไม่พบในประเทศไทย

 

ขอบคุณ Center for Medical Genomics

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews

Thailand Web Stat