รัฐเตรียมเพิ่มเงินสมทบใน กอช. ช่วยผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอในวัยเกษียณ

04 กันยายน 2565
196

คณะรัฐมนตรีเพิ่มเงินสมทบ กอช.ช่วยผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอในวัยเกษียณ ในอัตราที่เหมาะสม ตามช่วงอายุของเเต่ล่ะคน

รัฐเตรียมเพิ่มเงินสมทบใน กอช. ช่วยผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอในวัยเกษียณ 

ครม.เพิ่มเงินสมทบ กอช.เพื่อเป็นเงินออมไว้ดูแลสมาชิกหลังวัยเกษียณให้มีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือนในอัตราที่เหมาะสม 

รัฐเตรียมเพิ่มเงินสมทบใน กอช. ช่วยผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอในวัยเกษียณ

 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเงินสมทบจากภาครัฐให้สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นเงินออมไว้ดูแลสมาชิก กอช. หลังวัยเกษียณ ให้มีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือนในอัตราที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันอัตราที่ได้รับเงินหลังเกษียณถือว่าต่ำเกินไป ส่วนจะสมทบในอัตราเท่าใดนั้น คาดว่าจะชัดเจนภายในปีนี้ ซึ่งจะต้องมีการเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม. อีกครั้ง นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายบำนาญแห่งชาติ เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุด้วย เนื่องจากประเทศไทย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับชีวิตด้วย

รัฐเตรียมเพิ่มเงินสมทบใน กอช. ช่วยผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอในวัยเกษียณ

ปัจจุบันเมื่อสมาชิกส่งเงินออมสะสมตั้งแต่ 50 -13,200 บาทต่อปี รัฐจะเติมเงินสมทบเพิ่มให้ตามช่วงอายุของสมาชิก ดังนี้

  • ช่วงอายุ 15 – 30 ปี รัฐสมทบให้ 50% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 600 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 4%)
  • ช่วงอายุ >30 – 50 ปี รัฐสมทบให้ 80% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 960 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 7%)
  • ช่วงอายุ >50 – 60 ปี รัฐสมทบให้ 100% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 1,200 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 9%) โดยเงินสมทบจากรัฐบาลคิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนโดยประมาณ

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ “นโยบายการขับเคลื่อนระบบประกันสุขภาพเพื่อสังคมผู้สูงอายุ และความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมไทย" ในงานเปิดการศึกษาอบรมหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) รุ่นที่ 2 ว่า ในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าประชาชนให้ความสำคัญกับสุขภาพ และการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยง และสร้างความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณ 

เขากล่าวด้วยว่า แม้ปัจจุบันโควิดจะคลี่คลายลง แต่ก็ยังมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นจึงเป็นอีกปัจจัยที่ภาคธุรกิจประกันจะต้องนำมาพิจารณาเพื่อสร้างระบบความคุ้มครอง ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ซื้อประกันได้รับความคุ้มครองตามที่ได้เสียเงินในการซื้อเบี้ยประกันภัยไว้