5 อาการ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.5 เมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะลงปอดเลยจริงไหม?

05 กรกฎาคม 2565
1.2 k

ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิดสายพันธุ์ใหม่" เผย 5 อาการ "โอมิครอน" BA.5 

5 อาการ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.5 เมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะลงปอดเลยจริงไหม ?

5 อาการ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.5 เมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะลงปอดเลยจริงไหม?

ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิดสายพันธุ์ใหม่" เผย 5 อาการ "โอมิครอน" BA.5 

5 อาการ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.5 เมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะลงปอดเลยจริงไหม?

โดยอาการที่พบมากกว่า 50% ของผู้ป่วย คือ

- อ่อนเพลีย

- ไอ

- ไข้

- ปวดศีรษะ

- น้ำมูกไหล

ข้อสังเกตระลอก BA.5 

 

1. ส่วนใหญ่กว่า 90% ติดเชื้อและมีอาการ

2. แม้อาการส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำให้ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไข้ซม ปวดเมื่อยมาก ไอ เจ็บคอมาก ท้องเสีย เปรียบเทียบแล้วพบอาการมากกว่า Omicron BA.1 และ BA.2 อย่างชัดเจน

3. ผู้ติดเชื้อที่ปรึกษามาทั้งหมดนั้นตรวจ ATK เองทั้งสิ้น ไม่ได้ไปตรวจ RT-PCR

4. สถิติสัปดาห์ล่าสุด ในสถานที่ทำงานแห่งหนึ่ง มีเคสติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นรายสัปดาห์พุ่งสูงกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าถึง 150%

และการติดเชื้อใหม่นี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 1:20 ถือว่าหนักกว่าอังกฤษ (1:30) เวลส์ (1:30) ไอร์แลนด์เหนือ (1:25) และพอๆกับสกอตแลนด์ (1:18)

นโยบายสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค เพื่อลดอัตราการติดเชื้อให้น้อยลง ไม่ใช่ปล่อยจอย โดยรอดูแค่จำนวนนอนโรงพยาบาลและจำนวนเสียชีวิต เพราะการติดเชื้อแต่ละครั้งของทุกคนนั้น เดิมพันด้วยความเสี่ยงต่อปัญหาระยะยาวอย่าง Long COVID ซึ่งไม่มีใครมารับผิดชอบแทนผู้ป่วยได้

 

5 อาการ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.5 เมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อจะลงปอดเลยจริงไหม?

สถานการณ์ระบาดของไทย ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 หมอธีระ ระบุว่า จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวานสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค. จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมาก

หนทางแก้ไข

1. "บอกความจริง" แก่ประชาชนทุกคนในสังคม ไม่วิ่งหนีความจริง ไม่เปิดเฉพาะที่อยากเปิด ไม่เปิดแค่ยามที่อยากเปิด

2. วัฒนธรรม "ใส่หน้ากาก"

3. วิเคราะห์ช่องโหว่ของแผนการควบคุมป้องกันโรคในสถานที่จำเพาะ เช่น สถานศึกษา และที่ทำงาน และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ยืนบนพื้นฐานของความเป็นจริง และปรับระบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่จริง ไม่ทำแบบเตี้ยอุ้มค่อม เพื่อให้การดำเนินชีวิตวิถีใหม่เป็นไปได้ ไม่ใช่วิถีชีวิตแบบเดิมแต่สังเวยด้วยความเจ็บป่วยและความเสี่ยงต่อชีวิต

4. ปรับเปลี่ยนกลไกบริหารจัดการนโยบายด้านสุขภาพ ตัวชี้วัด และสร้างระบบเฝ้าระวังที่เข้าถึงได้โดยสาธารณะอย่างละเอียด ทันเวลา

 

ที่มา:เฟซบุ๊ก ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์