อย. เผยผลวิเคราะห์ไส้กรอกเชื่อมโยงเด็กป่วย พบสารไนเทรต/กรดเบนโซอิก ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในไส้กรอก พบการใช้ไนไทรต์เกินมาตรฐานที่กำหนดไส้กรอกทั้งหมดมาจากสถานที่ผลิตที่ไม่ได้ขออนุญาตผลิตจาก อย. ฉลาก ไม่มีเลข อย.ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดี
ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดีพบเด็กป่ยด้วยภาวะเมธฮีโมโกลบิน จำนวน 14 รายใน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี ตรัง พะเยา สงขลา นครศรีธรรมราช และกาญจนบุรีโดยทั้งหมดกินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ รายละเอียดฉลาก ไม่ครบถ้วน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ได้ดำเนินการสืบหาสถานที่ผลิตไส้กรอก และเก็บตัวอย่างไส้กรอกทั่วประเทศทั้งสถานที่ผลิตและสถานที่ จำหน่าย จำนวน 102 ตัวอย่าง ได้รับผลวิเคราะห์มาแล้ว 44 ตัวอย่าง ตกมาตรฐาน 22 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยัง พบมีการใช้เนื้อไก่แต่แสดงฉลากลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้อหมูอีก 1 ตัวอย่าง และขณะนี้อยู่ระหว่าง การดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด
ทั้งนี้ กฎหมายก าหนดให้ใช้ไนไทรต์เป็นสารกันเสียได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหารส่วนไนเทรต และกรดเบนโซอิก ไม่อนุญาตให้ใช้ในไส้กรอก หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และหาก ตรวจพบในปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจ าคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่ เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
รองเลขาธิการฯ แนะนำการเลือกซื้อไส้กรอก ผู้บริโภคควรเลือกซื้อไส้กรอกที่มีฉลากแสดง เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. มีชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน ส่วนประกอบและข้อมูลวัตถุเจือปนอาหาร น้ำหนักสุทธิ ซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่ง น่าเชื่อถือ ส่วนผู้ผลิตต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ขออนุญาตผลิตให้ถูกต้อง ควบคุมการผลิตให้ เป็นไปตามคุณภาพมาตรฐาน GMP และแสดงฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
อนึ่ง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ ผู้ประกอบการผลิตไส้กรอกทั่วประเทศ อย. ได้จัดอบรม เรื่อง “ไนไทรต์และเบนโซเอต ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์” วันที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 09.30-12.00 น. ผ่าน ระบบ zoom และ Facebook Live: FDA THAI อบรมฟรีโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
(เปิด22ยี่ห้อไส้กรอกอันตราย ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน อย.)