รู้ไว้ก่อนถูกดูดเงินหาย ช่องทางป้องกัน บัญชีธนาคารโดนแฮก

19 ตุลาคม 2564
414

ปัญหาเรื้อรัง ชี้ช่องทางป้องกัน บัญชีธนาคารโดนแฮก รู้ไว้ก่อนโดนดูดเงินหาย แต่ถ้าเสียรู้ไปแล้วต้องทำตามขั้นตอนนี้

จากกรณี พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ผบช.สอท. ได้ออกมาแถลงการณ์ความคืบหน้าถึงกรณี "บัญชีธนาคารโดนแฮก" หลังจากเพจดังได้ออกมาเตือน ซึ่งตามข้อมูลล่าสุดพบว่ามีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคน ยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นการไม่ได้ดูดเงินออกจากบัญชีครั้งละมากๆ ในคราวเดียว แต่เป็นการตอดเล็กตอดน้อย กว่าผู้เสียหายจะรู้ตัวก็สูญเงินก้อนไปแล้ว

 

บัญชีธนาคารไทยโดนแฮก

นอกจากนี้ ตำรวจไซเบอร์ ยังเชื่อว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียว อีกทั้งยังมาจากหลายกลุ่มใช้วิธีหลายรูปแบบ ซึ่งพฤติการณ์การก่อเหตุ สัญนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะคือ 
1. เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ 
2. การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย 
3. การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการ ในห้าง หรือการเติมน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจมีการรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด

 

บัญชีธนาคารโดนแฮก

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งเรื่องในลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และยังแก้ไขไม่ได้ สาเหตุเพราะมันเป็นช่องโหว่ที่มิจฉาชีพนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตรและดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร 

 

- ด่วนที่สุด ปภ.ออกหนังสือ เตือนระวังน้ำท่วมล่าสุด ปชช.พื้นที่เสี่ยงภัย

- เพิ่มเงินคนละครึ่ง นายกฯ ประชุมครม.เตรียมเคาะอนุมัติ

- บาย ต้นเรื่อง แก๊งวัยรุ่น 6 รุม 1 สำนึกผิด ถ้าไม่ไป เพื่อนไม่ตาย

ดร.ปริญญา จึงขอแนะนำเกี่ยวกับกรณีเช่นนี้ว่า ให้คนที่จะซื้อของออนไลน์หรือทำธุรกิจออนไลน์เปิดบัญชีแยกเอาไว้เลย ซึ่งบัญชีที่ว่านี้จะเป็นการใช้เฉพาะการโอนใช้จ่ายทางออนไลน์ จากนั้นให้ขอบัตรเดบิตจากบัญชีนี้มาด้วย แล้วให้เติมเงินใส่บัญชีนี้ทีละน้อยๆ เช่น 200 หรือ 500 บาท หรือเท่าที่จะใช้ หมดก็เติมใหม่ อย่าใส่เป็นเงินก้อนใหญ่ๆ 


นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังได้เสนอแนะอีกว่า แต่ถ้าปัญหามันเกิดขึ้นแล้ว ส่วนแรกถ้าเป็นบัตรเครดิต ถ้าโดนดูดเงินไปให้ไปแจ้งที่ธนาคารโดยตรง เพราะเงินที่ถูกดูดออกไปเป็นเงินของธนาคาร ยังไม่ใช่เงินของเจ้าของบัญชี ซึ่งเมื่อไปแจ้งทางธนาคารเจ้าของบัตรเคดิตจะพักยอดเอาไว้ และจะแก้ไขให้ 

 

บัญชีธนาคารโดนแฮก

 

กรณีที่สองหากเป็นบัตรเดบิต ส่วนนี้อาจจะต้องรอเงินนานหน่อย เนื่องจากเป็นเงินของเราที่ถูกดูดออกไป กรณีนี้ก็ต้องไปแจ้งกบธนาคารเช่นกัน และทางธนาคารก็จะมีหน้าที่ชดใช้เยียวยาให้ เพียงแต่ว่าอาจจะรอเงินคืนนานสักหน่อย อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันระบบ  Cyber Security ในประเทศไทยดีขขึ้นมากแล้ว แต่แม้จะดีขึ้นมากเพียงใด ประชาชนก็ยังคงต้องระวังตัวเองเอาไว้ด้วยเช่นกัน 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews