thainewsonline

"บิ๊กป้อม" ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

05 ตุลาคม 2564
28
"บิ๊กป้อม" ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ห่วงใยประชาชน ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งการระบายน้ำ พร้อมควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. มีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ โดยได้กำชับให้ สทนช. วิเคราะห์และประเมินภาพรวมในการบริหารจัดการน้ำ

เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังออกให้เร็วที่สุด โดยพิจารณา พื้นที่เร่งระบายน้ำ พื้นที่รับน้ำ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์และคาดการณ์สภาพอากาศปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มของอิทธิพลพายุและสภาพอากาศในอนาคตด้วย ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในทางพื้นที่ภาคเหนือเริ่มลดลง จึงได้มีการลดการระบายน้ำในพื้นที่ตอนล่าง เพื่อให้สถานการณ์และผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนคลี่คลายโดยเร็วที่สุด

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา–ลุ่มน้ำป่าสัก ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775 – 2,800 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลบ.ม.ต่อวินาที และในวันนี้ ปริมาณน้ำจะไหลหลากรวมกันผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด 3,050 - 3,150 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. 64

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 ซม. บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร โดยระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำล้นคันป้องกันน้ำริมแม่น้ำของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นบริเวณที่ไม่มีระบบคันป้องกันริมแม่น้ำรับน้ำ ซึ่ง กอนช. มอบหมายกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำเข้าทุ่งให้เต็มศักยภาพ โดยเร่งระบายน้ำ สูบน้ำ บริเวณรอยต่อของแม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทย

 

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ประสานกองทัพเรือ สนับสนุนเรือผลักดันน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทยโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูงและชุมชนริมแม่น้ำ ขณะเดียวกัน ยังได้ประเมินสถานการณ์ฝนบริเวณลุ่มน้ำป่าสักที่มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำไหลออกมากกว่าน้ำไหลเข้า โดยให้กรมชลประทานพิจารณาปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จาก 1,133 ลบ.ม.ต่อวินาที ให้เหลือประมาณ 800 ลบ.ม.ต่อวินาที  เพื่อให้สถานการณ์น้ำท่วมลดระดับลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าการใช้ทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับการระบายน้ำนั้น ปัจจุบันลุ่มน้ำยม-น่าน ได้ผันน้ำเข้าทุ่งบางระกำ จำนวน 400 ล้าน ลบ.ม. เพื่อตัดยอดน้ำหลากลดผลกระทบความรุนแรงอุทกภัยปัจจุบันสถานการณ์น้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำ 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันรับน้ำแล้วรวม 978 ล้าน ลบ.ม. (67%) โดยมีทุ่งที่ยังรับน้ำน้อยกว่า 50% จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก (26%) และทุ่งเจ้าเจ็ด (13%) นอกจากจะเป็นการระบายน้ำแล้ว ยังเป็นการเตรียมแปลงสำหรับการเพาะปลูกพืชน้ำน้อยในช่วงแล้งได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ให้เร่งตรวจสอบความมั่นคงตลิ่งโดยรอบ หากกรณีแช่น้ำนานกว่า 10 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นผิวการสัญจรของประชาชน

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

สำหรับสถานกาณ์น้ำในลุ่มน้ำชี–มูล มวลน้ำจากลุ่มน้ำชีตอนบน จ.ชัยภูมิ ได้เคลื่อนตัวมาถึงเขื่อนชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น และเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำชี ประกอบกับระดับน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์สูงเกินเกณฑ์ระดับน้ำควบคุมสูงสุด จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำลงน้ำพองและแม่น้ำชี ตามลำดับโดยปริมาณน้ำดังกล่าวจะทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำสูง 1.50 – 2.00 ม. บริเวณ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีสะเกษ

ในช่วงวันที่ 4–15 ต.ค.64  โดย กอนช.ได้ออกประกาศแจ้งเตือนไปเมื่อวันที่ 3 ต.ค.64 ที่ผ่านมา เพื่อให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์และเตรียมยกสิ่งของขึ้นที่สูง และเตรียมอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง ส่วนแม่น้ำมูลมวลน้ำจาก จ.นครราชสีมา ได้เคลื่อนตัวมาผ่าน จ.ศรีสะเกษ แล้ว และมวลน้ำสูงสุดกำลังเคลื่อนผ่าน จ.อุบลราชธานี สูงสุด 2,576 ลบ.ม./วิ เมื่อวันที่ 3 ต.ค.64 ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.46 ม. หลังจากนั้นอีก 10-15 วัน มวลน้ำจากลำน้ำชีจะไหลลงสู่ลำน้ำมูล

บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง บิ๊กป้อม ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง

“ในวันพรุ่งนี้ (6 ต.ค.64) กอนช.จะมีการประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการ ครั้งที่ 2/2564 ร่วมกับหน่วยงานภายใต้ กอนช. อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สสน. จิสด้า กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อร่วมประเมินและบริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก และลุ่มน้ำชี-มูล ที่สำคัญยังจะร่วมกันวางแผนนำน้ำที่ไหลหลากในทุ่งรับน้ำต่างๆ รวมถึงมวลน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำในปัจจุบันมาบริหารจัดการสำหรับฤดูแล้งหน้า ทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำมูล-ชี

ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้สามารถทำนาปรังหรือพืชใช้น้ำน้อย โดยจะหรือร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีความชัดเจนร่วมกัน ก่อนเสนอเป็นมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/2565 โดยเร็วต่อไป ที่สำคัญจะมีการติดตามสถานการณ์และการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุที่กำลังจะเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ด้วย” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

Thailand Web Stat