เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2565
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด 1 บททั่วไป
มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ตั้งเป็นจํานวน รวมทั้งสิ้น 3,100,000,000,000 บาท จําแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังมีอํานาจสั่งจ่ายเงินแผ่นดิน ตามรายการและจํานวนเงิน ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่สํานักงบประมาณจะได้จัดสรร หรือตามที่จะได้มี การโอนเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม :
- ราชกิจจาฯเผยแพร่ รายงานฐานะการเงินไทย ทุนสำรองเงินตรา-ขาดทุนสะสม
- ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้ ประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ
- ประกาศราชกิจจานุเบกษาโปรดเกล้าฯให้นายทหารรับราชการประจำปี 2564
หมวด 2 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ตั้งเป็นจํานวน 587,509,336,900 บาท จําแนกดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดําเนิน และต้อนรับประมุขต่างประเทศ 800,000,000 บาท
(2) ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 5,000,000,000 บาท
(3) ค่าใช้จ่ายตามโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ 2,300,000,000 บาท
(4) ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 16,362,010,100 บาท
(5) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 74,000,000,000 บาท
(6) เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 500,000,000 บาท
(7) เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 4,360,000,000 บาท
(8) เงินเบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ 310,600,000,000 บาท
(9) เงินเลื่อนเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ 11,547,326,500 บาท
(10) เงินสมทบของลูกจ้างประจํา 570,000,000 บาท
(11) เงินสํารอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ 72,370,000,000 บาท
(12) เงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น 84,000,000,000 บาท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews