สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน

05 กันยายน 2564
1

กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันหยุดสั่งวัคซีนซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูตรไขว้แบบใหม่แทน

หลังจากที่ประเทศไทยหมั่นสั่งนำเข้า วัคซีนซิโนแวค เข้ามาฉีดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ซิโนแวค ไม่อาจสร้างภูมิต้านทานได้อย่างดีให้กับร่างกายมนุษย์ หากได้รับเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลด้าเข้าไป กล่าวคือ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพช่วยเหลือได้นั่นก็คือวัคซีนชนิด mRNA 

สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน

โดยหลังจากที่มีข้อถกเถียงมานานยาวนานตลอดระยะเวลาที่โควิดได้ระบาดและกระจายไปทั่วประเทศไทย ซึ่งล่าสุดมีข้อสรุปแล้วว่า สาธารณสุข จะหยุดสั่งซิโนแวคแล้ว ซึ่งหากหมดล็อตนี้จะเปลี่ยนสูตรฉีดวัคซีนเป็น แอสตร้าเซนเนกา 2 เข็ม หรือ ไฟเซอร์ 2 เข็ม หรือ แอสตราเซนเนกา + ไฟเซอร์ 


นายแพทย์ โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้อธิบายถึงประเด็นดังกล่าว ว่า การจัดหาวัคซีนในช่วง 4 เดือน ของปี 2564 คือเดือนกันยายน - เดือนธันวาคม ซึ่งไทยมีเป้าหมายฉีดวัคซีน ร้อยละ 70 ของประชากร แต่การระบาดของสายพันธุ์เดลตามีการติดเชื้อได้มาก เฉลี่ย 1 ราย อาจแพร่ 7 - 8 ราย ดังนั้นภูมิคุ้มกันหมู่ร้อยละ 70 อาจไม่พอ ถ้าเรามีคนยังไม่ได้รับวัคซีน หรือยังไม่เคยติดเชื้อเหลือเท่าไหร่ พยายามฉีดให้หมด น่าจะขยับได้มากกว่าร้อยละ 70 สธ.ต้องเตรียมวัคซีนให้พอ

สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน


รองอธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายต่อไปว่า จากนี้จะมีวัคซีนหลัก 3 ตัว คือ ซิโนแวค ระหว่างเดือนกันยายน - เดือนตุลาคม เดือนละ 6 ล้านโดส แอสตราเซนเนกา ส่งมอบมากขึ้น เดือนกันยายน 7.3 ล้านโดส และบริษัทแจ้งว่าอาจถึง 8 ล้านโดสได้ ในช่วงเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคมนี้ คือ 10 ล้านโดส, 13 ล้านโดส, 13 ล้านโดส ภายในสิ้นปีนี้ครบถ้วน 61 ล้านโดส ส่วนไฟเซอร์ เดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม เดือนละ 8 - 10 ล้านโดส ทำให้วัคซีนแอสตราเซนเนกา และไฟเซอร์ มีจำนวนมากสุด ในช่วง 3 - 4 เดือนข้างหน้านี้


นอกจากนี้มีช่วงตอนหนึ่งที่ ผู้สื่อข่าว ได้ถามถึงการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ให้ประชาชน จะมีเกณฑ์พิจารณาอย่างไร ซึ่งทางด้าน นายแพทย์โสภณ ได้ชี้แจงว่า อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเริ่มจากคนที่อาจติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ซึ่งถ้าเรียงตามระบบเดิม คนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเมื่อเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม ก็เป็นกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้มีโรคประจำตัว อาจจะมีบ้างที่เป็นผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่ในช่วงนั้นผู้สูงอายุฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา


ขณะเดียวกัน ในกรณีของคนที่เคยติดเชื้อหรือหายป่วยจากโควิดแล้วหลายแสนคน หลังจากที่หายป่วยแล้ว 1 - 3 เดือน ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม ให้เกิดภูมิสูงขึ้นป้องกันติดเชื้อซ้ำ แนะนำฉีดด้วยแอสตราเซนเนกา หรือไฟเซอร์ หากเกิน 3 เดือน ให้ฉีดโดยเร็ว ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่ติดเชื้อแต่ยังไม่เคยรับวัคซีนหรือรับไม่ครบ 2 เข็ม หรือรับ 2 เข็ม แต่ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ถือว่าภูมิยังไม่ขึ้น ก็ให้ฉีดกระตุ้นด้วย ส่วนคนที่ฉีด 2 เข็ม เกิน 2 สัปดาห์แล้ว ติดเชื้ออาการน้อย ไม่ต้องฉีดกระตุ้น

สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน

ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นที่ว่า จากแผนการจัดหาวัคซีน พบว่าเรามีการสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวค เพิ่มอีกแค่ 2 เดือน เดือนละ 6 ล้านโดส แปลว่าการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ จากนี้หากหมดล็อตนั้น แล้วการฉีดไขว้ในประเทศไทยจากนี้จะมีเพียงแอสตราเซนเนกา เป็นเข็มแรก และตามด้วยไฟเซอร์ใช่หรือไม่ 


ซึ่งทางด้าน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ตอบกลับว่า ใช่ แต่การฉีดหลังจากนั้นจะมีอยู่ประมาณ 3 แบบ คือ 1. แอสตราเซนเนกา 2 เข็ม 2. ไฟเซอร์ 2 เข็ม และ 3. ฉีดไขว้ด้วย แอสตราเซนเนกา เข็ม 1 ตามด้วยไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2

สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการชะลอการสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวค ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ยังไม่มีแผนที่จะซื้อเพิ่ม เว้นแต่ว่าจะมีข้อมูลการพัฒนาว่าสามารถฉีดในเด็กได้ เพราะการฉีดในเด็กต้องเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยคือวัคซีนเชื้อตาย วัคซีน mRNA ก็ฉีดได้ เพียงแต่ผลในระยะยาวเรายังไม่ทราบผล นอกจากนี้ การชะลอซื้อซิโนแวค เพราะต้องรอดูวัคซีนรุ่นใหม่ของเขาที่เจาะจงกับสายพันธุ์ปีนี้ ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากเชื้ออู่ฮั่นทั้งสิ้น

สธ.ยืนยันหยุดสั่งซิโนแวค เบนเข็มเปลี่ยนฉีดสูตรไขว้แบบใหม่แทน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews