thainewsonline

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นฟ้า แท้จริงคืออะไร

17 สิงหาคม 2564
29
อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นฟ้า แท้จริงคืออะไร

รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า เหมือนนาคเล่นน้ำ แท้จริงคืออะไร

จากกรณีโลกออนไลน์มีการแชร์คลิปจากผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง เผยภาพเหตุการณ์ขณะมีน้ำพุ่งเป็นเส้นระหว่างพื้นกับท้องฟ้าที่ จ.พัทลุง ซึ่งหลังจากนั้นก็มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้คนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ภาพที่เห็นคืออะไรกันแน่ เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือไม่ บ้างก็แซวว่าเทวดาสูบน้ำขึ้นไปใช้บนสวรรค์
 

ล่าสุด รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายแล้วว่าคืออะไร ซึ่งไม่ใช้ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ หรือเมฆาพิโรธแต่อย่างใด แต่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า "พายุงวงช้าง" แบบ "นาคเล่นน้ำ" ซึ่งในไทยมีพายุงวงช้างเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวบ้าง โดยระบุรายละเอียดดังนี้

มีการแชร์คลิปวีดีโอแปลกๆ ดูเหมือนกับมี "สายน้ำ" พุ่งจากพื้น ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า โดยมีการเขียนแคปชั่นว่า "เมื่อวานที่พัทลุง หางฟินิกซ์ ดึงน้ำขึ้นไปถล่มจีน ญี่ปุ่น ตุรกี" คลิปวีดีโอนี้เกิดขึ้นที่พัทลุงจริง แต่ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอะไร ไม่ได้ชื่อ "หางฟีนิกซ์" อย่างที่เขาตั้งให้ รวมทั้งไม่ได้ดูดน้ำไปลงในประเทศอื่นๆ ด้วยนะครับ แต่มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า "พายุงวงช้าง"แบบ "นาคเล่นน้ำ" นั่นเองครับ 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- ในไทยเรามี "พายุงวงช้าง” เกิดขึ้นเป็นระยะๆ อยู่แล้ว มีทั้งที่เป็นข่าวบ้างและไม่เป็นข่าวบ้าง

-  พายุงวงช้าง เป็น "ทอร์นาโด" (tornado) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปกรวยหรืองวงยาว ปลายด้านบนมีเมฆก้อนขนาดใหญ่ ปลายด้านล่างแตะพื้นดินหรือผืนน้ำ แต่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเมฆฝนฟ้าคะนองแบบ "ซุปเปอร์เซลล์" (supercell)
 จึงมีความรุนแรงน้อยกว่าทอร์นาโดทั่วไป

- การเกิดพายุงวงช้างนั้น เกิดจากลมเฉือน จากด้านข้างซ้าย-ขวา ในแนวระดับที่ผิวพื้นดิน ทำให้เกิดกระแสอากาศ ไหลวนขึ้นในแนวดิ่ง ... กระแสอากาศไหลวนนี้เรียกว่า "ไมโซไซโคลน (misocyclone)" ซึ่งหากหมุนเร็วขึ้น ก็จะแคบเข้าและยืดยาวออกไป จนด้านบนเคลื่อนเข้าสู่ฐานเมฆ ส่งผลให้เมฆเติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้น 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- พายุงวงช้าง ที่พบในประเทศไทยมักจะเป็นแบบที่เกิดเหนือผืนน้ำ เรียกว่า "วอเทอร์สเปาต์" (waterspout) หรือชื่อไทย คือ “นาคเล่นน้ำ” (หรือ “พวยน้ำ”)

- นาคเล่นน้ำ ส่วนใหญ่ยาวประมาณ 10-100 เมตร แต่ที่ยาวมากถึง 600 เมตรก็เคยพบ เส้นผ่านศูนย์กลาง มีตั้งแต่ที่เล็กแค่ 1 เมตร ไปจนถึงหลาย 10 เมตร

- นาคเล่นน้ำ อาจมีกระแสอากาศหมุนวนเพียงเส้นเดียว หรือหลายเส้นก็ได้ แต่ละเส้นหมุนเร็ว 20-80 เมตรต่อวินาที 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- กระแสลมในนาคเล่นน้ำ มักเร็วในช่วง 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

- นาคเล่นน้ำ เคลื่อนที่เร็วในช่วง 3-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ค่อนข้างช้า ประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

- นาคเล่นน้ำ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นประมาณ 2-20 นาที ก็จะสลายตัวไป แต่ที่นานถึง 30 นาที ก็เคยพบ

 

อ.เจษฎา อ.เจษฎา

 

ชมคลิป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

 

Thailand Web Stat