อัพเดทความคืบหน้า การจ่ายเงินเยียวยา ประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.นครปฐม 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.อยุธยา 8.ชลบุรี 9.ฉะเชิงเทรา 10.สงขลา 11.นราธิวาส 12.ยะลา 13.ปัตตานี และ 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรม บริการด้านอื่นๆ 5.การขายส่ง-ปลีก ซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ล่าสุดวันนี้ (4 ส.ค) ได้เริ่มมีการโอนเงินให้กับผู้ประกันตนแล้ว รับเงินผ่านช่องทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน สามารถเช็คสิทธิที่เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th/
โดย ผู้ประกันตน มาตรา 33 รับเงินเยียวยา 2 ส่วน คือ เงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง สูงสุด 7,500 บ. และเงินชดเชยเพิ่มเติมอีก 2,500 บ./คน
- ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด ที่ประกาศก่อน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา จะได้รับตั้งแต่วันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2564
- ส่วน 3 จังหวัด ที่ประกาศเพิ่มเติม ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และอยุธยา จะได้รับตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2564
***"ประกันสังคม" พร้อมโอนเงินเยียวยา 4 ส.ค. นี้ เช็กวิธีสมัครพร้อมเพย์***
ส่วนที่มีประกาศขยายล็อกดาวน์ และเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้ม อีก 16 จังหวัด เป็น 29 จังหวัดนั้น น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงผ่านทางเพจ กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล ว่า...
ขยายมาตรการเยียวยาเป็น 29 จังหวัด 13 จังหวัดเดิม เยียวยา 2 เดือน
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบขยายขอบเขตมาตรการเยียวยาลูกจ้างและนายจ้าง จากเดิม 13 จังหวัดได้แก่ : กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครปฐม, นราธิวาส, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา
ให้เพิ่มอีก 16 จังหวัดใหม่ ได้แก่ : กาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, เพชรบุรี
สำหรับกลุ่ม 13 จังหวัดเดิม ได้รับการเยียวยา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.) กลุ่ม 16 จังหวัดใหม่ ได้รับ 1 เดือน (ส.ค.)
ลูกจ้าง
- ม. 33 รับเงิน 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐจ่ายสมทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมเป็น 10,000 บาทต่อคน (ต่อเดือน)
- ม. 39 , 40 รับเงิน 5,000 บาทต่อคน (ต่อเดือน)
- อาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 รับเงิน 5,000 บาท/คน (ต่อเดือน)
นายจ้าง
- นายจ้าง ม.33 รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน (ต่อเดือน)
- ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน (ต่อเดือน)
- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท (ต่อเดือน)
สำหรับผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” 1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2.ร้าน OTOP 3.ร้านค้าทั่วไป 4.ร้านค้าบริการ 5.กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ต่อเดือน)
ปล.13 จังหวัดเดิม ได้รับการเยียวยา 2 เดือน 16 จังหวัดใหม่ ได้รับเยียวยา 1 เดือน