ประกันสังคม ม.40 เช็คสิทธิ www.sso.go.th อัพเดท เงินเยียวยา 5 พัน ได้เมื่อไหร่

02 สิงหาคม 2564
306

ผู้สมัครประกันสังคม ผู้ประกันมาตรา 40 เช็กสถานะ หลังจ่านเงิน อัพเดทความเคลื่อนไหวเงินเยียวยา 5,000 บาท ของประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.40

จากกรณีที่ประกันสังคมเปิดให้ แรงงานนอกระบบหรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด 9 กลุ่มอาชีพลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 นั้น สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 นั้น รวมแล้วกว่า 2.8 ล้านคน 

โดยแม้จะตัดยอดรายชื่อที่จะได้รับเงินเยียวยาแล้ว แต่ได้ “ขยายเวลาการชำระเงิน” ที่ผู้สมัครจะต้องไปจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อยืนยันการเป็นผู้ประกันตนออกไป เพื่อให้ผู้สมัครใหม่มีเวลาไปจ่ายเงินได้ทัน ก่อนจะทำการรวมยอดและประมวลผลในวันที่ 2 สิงหาคม 2564

 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยถึงลำดับเวลา “ไทม์ไลน์การจ่ายเงินเยียวยา” ให้กลุ่มผู้ประกันตน ม.40 ว่า จะเริ่มต้นจากการที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประชุมร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ กับกระทรวงการคลัง จากนั้นจะมีการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมครม. ในวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564

เมื่อผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม ครม. ก็จะทำเรื่องส่งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และโอนมาให้กระทรวงแรงงาน ก่อนจะทำการจ่ายเงินผ่าน “พร้อมเพย์” ที่ผูกกับบัตรประชาชน ซึ่งคาดว่าจะจ่ายได้ประมาณวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

ผู้ที่สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 และจ่ายเงินภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบสถานะการเป็นผู้ประกันตน ได้ที่ www.sso.go.th

- เข้าหน้าเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th กดสมัครสมาชิก

ม.40


- อ่านข้อตกลงต่างๆ เมื่ออ่านเสร็จให้ กด ฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ และกดถัดไป

ม.40

ม.40


- กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดถัดไป

ม.40


- ยืนยันตัวตน

เมื่อยืนยันตัวตนแล้วก็จะมาที่หน้า ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ซึ่งด้านล่างจะมี สถานะบอกว่าคุณได้เป็นผู้ประกันตนแล้วหรือไม่

ลาซาด้า

 

ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้น สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th หรือช่องทางที่ประกันสังคมกำหนด และเร่งจ่ายเงินสมทบภายใน 2 สิงหาคม 2564

คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน

ม.40

ม.40