เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี"โรงงานกิ่งแก้ว"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ

06 กรกฎาคม 2564
22

เผยภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี โรงงานกิ่งแก้ว บริษัทผลิตเม็ดโฟม เม็ดพลาสติก หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ที่ได้มาก่อตั้งในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2532 หรือ32 ปีก่อน

 ข้อมูลของโรงงานกิ่งเเก้วที่เกิดเหตุระเบิด เป็นโรงงานผลิตพลาสติกร่วมทุนกันระหว่างไทยกับไต้หวัน  บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล  จำกัด ตั้งอยู่ที่ซอยกิ่งแก้ว 21 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และก่อตั้งมานาน 32 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี\"โรงงานกิ่งแก้ว\"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ
ถ้าดูตามข้อมูลผังเมืองแล้ว บจ.หมิงตี้เคมีคอล ดำเนินกิจการในโซนสีม่วง กล่าวคือ เป็นพื้นที่ที่ให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ มีการใช้สารเคมี จึงไม่ใช่พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี\"โรงงานกิ่งแก้ว\"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ

แต่เมื่อเกิดเหตุระเบิด การติดตามสถานการณ์ผ่านสื่อรวมถึงเครื่องมือต่างๆ พบว่ามีชุมชนตั้งอยู่โดยรอบโรงงาน เช่น ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.35 น. ที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จิสด้า) นำมาเผยแพร่ ทำให้เห็นสภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุว่า มีชุมชนกว่า 994 แห่ง และโรงงานอีกกว่า 1,120 แห่ง 

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี\"โรงงานกิ่งแก้ว\"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ

นอกจากนี้ ภาพจากดาวเทียมยังแสดงให้เห็นถึงกลุ่มควันสีดำจากโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ที่มีทิศทางพัดไปทางทิศตะวันออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนของ อบต.ราชาเทวะ พื้นที่บางส่วนรอบสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี\"โรงงานกิ่งแก้ว\"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ
โดยทางเพจ โบราณนานมา ได้เผยภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี โรงงานกิ่งแก้ว  สำหรับ บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด  นั้นระบุว่าเป็นบริษัทผลิตเม็ดโฟม เม็ดพลาสติก และพลาสติกขั้นต้น โดยก่อตั้งในประเทศไทยตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2532 หรือ 32 ปีก่อน โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่ไต้หวัน ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2529

เปิดภาพถ่ายดาวเทียม ย้อนหลัง 20 ปี\"โรงงานกิ่งแก้ว\"เผยสภาพบริเวณโดยรอบ

โรงงานนี้ในอดีตเคยตั้งอยู่กับกลุ่มโรงงานอื่น ๆ โดยที่รอบ ๆ โรงงานจะเป็นป่าหรือที่โล่ง ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ แต่ปัจจุบันพบว่า ชุมชน คอนโด หมู่บ้าน ขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง หลังจากการมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

 

ขอบคุณ
โบราณนานมา
www.gistda.or.th