ศบค. มีมติเคาะฉีดไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรก

06 กรกฎาคม 2564
7

ศบค. มีมติเคาะฉีดไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรก ขณะนี้ ศิริราช จุฬา ทำการศึกษาเข็มสามว่าตัวไหนจะเหมาะ ซึ่งจะรู้ผลในอีก 1 เดือนข้างหน้า พร้อมทั้งเผยข้อมูลวัคซีนในปัจจุบัน

วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เปิดเผยถึงข้อมูลวัคซีนโควิดในปัจจุบันพบว่าเมื่อเจอสายพันธุ์เดลตา ประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลง ทั้งนี้ยังเปิดเผยว่า "มีมติว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องได้บูสเตอร์ก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยต้องได้ mRNA เป็นแอสตราฯ หรือ ไฟเซอร์ ที่กำลังจะได้มาจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส" ขณะนี้ ศิริราช จุฬา ทำการศึกษาเข็มสามว่าตัวไหนจะเหมาะ ซึ่งจะรู้ผลในอีก 1 เดือน

ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า มีมติว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องได้บูสเตอร์ก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยต้องได้ mRNA เป็นแอสตราฯ หรือ ไฟเซอร์ ที่กำลังจะได้มาจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส ฉะนั้น คำว่าบูสเตอร์โดส ไม่เฉพาะคนทั่วไป ไม่มีประเทศไหนกำหนดแนวทางไกด์ไลน์หรือแม้กระทั่งองค์การอนามัยโลก ไม่มี ขณะนี้ ศิริราช จุฬา ทำการศึกษาเข็มสามว่าตัวไหนจะเหมาะ ตัวไหนดีที่สุดอีก 1 เดือนรู้ผล

จะเป็นการศึกษาแรกๆ ในโลก ประเทศไทยแรกๆ ในโลกกำหนดไกด์ไลน์ ว่า การให้บูสเตอร์โดสจะใช้อะไรบ้างอย่างไร และการใช้ไม่ได้ใช้สำหรับคนทั่วไป แต่ใช้สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ข้อกำหนดที่ 2 จะให้กับผู้มีความเสี่ยง กลุ่มโรคต่างๆ สำหรับเด็ก ยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เพราะเด็กติดเชื้อไม่มีอาการ ไม่รุนแรง ทำให้ต้องฉีดให้กลุ่มเสี่ยง ผู้ใหญ่ที่เสี่ยง มิฉะนั้น ตายวันละ 50-60 คนไม่ไหว ส่วน 20 ล้านโดสที่จะมาไตรมาส 4 มีเวลาจะระดมฉีดให้เต็มที่ ปัจจุบันตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน ฉีดซิโนแวค 2 เข็มครบเป็นเวลา 3-4 เดือน ได้เวลาที่ต้องต้องบูสเตอร์โดส หากไฟเซอร์ ยังไม่มา จะฉีดแอสตร้าให้ก่อน

"บูสเตอร์โดส มีความสำคัญแน่นอน แต่อย่าดาวน์เกรด ซิโนแวค เพราะลดการเจ็บป่วยรุนแรงตาย ไม่แพ้วัคซีนตัวอื่น เรายังมีเวลา 3-6 เดือนข้างหน้า ที่จะกำหนดออกมาให้ประชาชนได้ทราบ"

 

ทั้งนี้ยังกล่าวด้วยว่า "ตอนนี้เราต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนไม่มีทางป้องกัน 100% แต่ละตัวมีประสิทธิภาพแตกต่างออกไป แต่สำคัญคือแม้ไม่สามารถป้องกันได้ ประสิทธิภาพป้องกันลดลง แต่ประสิทธิภาพป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงเข้า รพ. และตายยังสูงมาก เกิน 90% แม้เป็นซิโนแวค ที่อยากจะย้ำ เพราะการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรง ทำให้ไม่ต้องไป รพ. เตียงเราจะได้มีพอ ตอนนี้แพทย์ พยาบาล ไม่ไหวแล้ว อย่างน้อยวัคซีนป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงเข้ารพ.เป็นผู้ป่วยหนัก มันคุ้มค่ามหาศาลสำหรับชีวิตแล้ว"

"ขณะนี้ ประเทศไทยมีแอสตร้าฯ กับซิโนแวค ซิโนฟาร์ม โมเดอร์นากำลังเข้ามา กรุณาฉีดให้ครบ 2 เข็มให้ได้ก่อน เมื่อได้เข็มหนึ่งจะต้องไปฉีดเข็มสองให้ได้ตามกำหนด อย่าเพิ่งนึกถึงเข็มสาม ถ้าฉีดแอสตรา ห่างสามเดือน อย่าเพิ่งไปจองเลย พูดจากทางวิชาการ เพราะว่า จะได้ mRNA รุ่นเก่า เนื่องจากแอสตร้าเว้นสามเดือน ฉีดเข็มสามเว้น 6 เดือน จะได้ mRNA เจนเนอเรชั่นใหม่ ฤทธิ์ข้างเคียงอาจน้อยลง ปลอดภัยมากกว่า"