เมื่อวันเสาร์ (3 ก.ค.) เฉินกล่าวระหว่างการประชุมประเด็นการประหยัดน้ำว่าจีนหยิบยกมาตรการชลประทานแบบประหยัดน้ำประสิทธิภาพสูง อาทิ การใช้หัวกระจายน้ำและท่อส่งน้ำ มาใช้กับที่ดิน 350 ล้านหมู่ (ประมาณ 145 ล้านไร่) ในปีก่อน
พื้นที่ชลประทานอันมีประสิทธิภาพของจีนเพิ่มจาก 240 ล้านหมู่ (ประมาณ 100 ล้านไร่) ในปี 1949 เป็น 1.04 พันล้านหมู่ (ประมาณ 433 ล้านไร่) ในปัจจุบัน ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ขณะเดียวกันเฉินกล่าวว่าพื้นที่ชลประทาน ซึ่งครองสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของผืนดินทำกินในจีน ผลิตธัญพืชและพืชเศรษฐกิจของประเทศร้อยละ 75 และกว่าร้อยละ 90 ตามลำดับ
ทั้งนี้ เฉินเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการชลประทานแบบประหยัดน้ำที่มีต่อการรักษาเสถียรภาพการบริโภคน้ำเพื่อการเกษตรของจีนตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงการขยับขยายพื้นที่ชลประทาน แนวโน้มการชลประทานที่เพิ่มสูง และผลผลิตธัญพืชที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เฉินเสริมว่างานชลประทานเพื่อการเกษตรของจีนยังคงมีปัญหาและจุดอ่อนบางประการ พร้อมเรียกร้องการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในเขตชลประทานขนาดกลาง-ใหญ่ เร่งการก่อสร้างเขตชลประทานอัจฉริยะ ตลอดจนปฏิรูปราคาน้ำเพื่อการเกษตร
ที่มา China Xinhua News